เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมี มอก.ไหม ?
เรื่องราวเกี่ยวกับ: เสาเข็มหกเหลี่ยม มอก. วันนี้ อยากจะแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง มีลูกค้าสอบถามกันมาเยอะมากสำหรับเรื่องเสาเข็มหกเหลี่ยมมีมอกไหม “เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงต้องมี มอก.นะไม่งั้นไม่รับสินค้านะ” “ใช้งานไม่ได้นะ” เพราะเป็นงานราชการ ผู้ควบคุมงานต้องการเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง ที่มี มอก. รองรับ ลูกค้าบางท่านก็โทรเข้ามาถามขอเอกสารรับรองการรับน้ำหนักเพื่อขออนุมัติใช้งานในโครงการก่อน ที่จะมีการสั่งซื้อเป็นอีกแล้วใช่ไหม นี่เป็นคำสนทนาบางส่วนของลูกค้าเวลาจะมาซื้อ เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง ของเรา ขอใช้พื้นที่ตรงนี้อธิบายเกี่ยวกับการรับน้ำหนักของเสาเข็มหกเหลี่ยม และการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมี มอก. |
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง มอก ไม่รองรับรอง
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมาตรฐานอุตสาหกรรมไม่ได้รองรับเสาเข็มประเภทนี้เพราะเป็นเข็มที่เล็กมาก แต่เสาเข็มประเภทนี้เนี่ยก็สามารถใช้ในงานสเปคหรือในงานราชการที่กำหนดสเปคหรือมาตรฐาน ตามหน่วยงานนั้นๆได้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องมีมาตรฐานหรือเอกสารรับรองการรับน้ำหนักของเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง ตามมาตรฐานผู้ผลิต
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมีรูปแบบการผลิต 2 รูปแบบรูปแบบที่ 1 เป็นเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบธรรมดาซึ่งไม่ได้มีการดึงลวดอัดแรงเข้าไปในเนื้อคอนกรีต แบบที่ 2 เป็นการผลิตแบบอัดแรงเข้าไปในเนื้อของคอนกรีตหรือเราเรียกว่าคอนกรีตอัดแรง ทั้งสองลักษณะนี้มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมี มอก. |
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบธรรมดาแตกต่างกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรงอย่างไร
จากการที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงธรรมดากับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรง มีกระบวนการในการผลิตที่ไม่เหมือนกันเสาเข็มหกเหลี่ยมแบบธรรมดานั้นก็จะมีการหล่อเสาเข็ม แต่ไม่มีการอัดแรงเข้าไปเนื้อของคอนกรีต ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรงจะมีการดึงลวดหรืออัดแรงเข้าไปในเนื้อคอนกรีต
ถามว่ามีความแตกต่างในเรื่องของการรับน้ำหนักกันอย่างไร มีความแตกต่างกันในเรื่องของลักษณะการรับแรงทางด้านข้าง พูดง่ายๆให้เห็นภาพชัดเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรงเนี่ยจะมีความทนทานต่อการรับแรงด้านข้างได้ดีกว่า เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงธรรมดา
ยกตัวอย่างเช่นเวลาเรายกหรือเคลื่อนย้าย เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง โดยมีการหิ้วเสาเข็มขึ้นไปเสาเข็มหกเหลี่ยมอัดแรงจะไม่มีความเสี่ยงต่อการแตกร้าวหรือแตกร้าวได้น้อย เมื่อเทียบกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบตัวธรรมดาเนี่ยจะมีโอกาสในการแตกร้าวสูงเพราะรับแรงด้านข้างไม่ได้แต่เมื่อ เสาเข็มพวกนี้ตอกลงไปในดินอยู่ข้างล่างแล้วเนี่ยการรับน้ำหนักในแนวดิ่งเนี่ยเท่ากัน
ดังนั้นเราจึงเห็นถึงความแตกต่างระหว่างเสาเข็มหกเหลี่ยมอัดแรงกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบธรรมดาแล้วเนี่ยจะมีความแตกต่างในเรื่องของการรับแรงในด้านข้างเท่านั้นเอง ซึ่งเสาเข็มทั้ง 2 ตัวนี้มีการผลิตที่แตกต่างกันมีมีความยากง่ายที่แตกต่างกันจึงทำให้เสาเข็มหกเหลี่ยมอัดแรงมีราคาที่สูงกว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมธรรมดาทั่วๆไปอยู่พอสมควร
การรับน้ำหนักของเสาเข็มหกเหลี่ยม
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง เป็นเข็มขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 cm ความยาวสูงสุด 6 เมตร มีรูปทรงเป็นหกเหลี่ยม ตรงกลางจะมีรูกลวง โดยปกติการรับน้ำหนักของเสาเข็ม พฤติกรรมในการรับน้ำหนักของเสาเข็มโดยทั่วไปเราจะออกแบบการรับน้ำหนักของเสาเข็มโดยให้ส่วนที่ 1 เราจะใช้ Fiction หรือแรงเสียดทานของผิวรอบข้างของเสาเข็ม และ 2 เราจะใช้ Bearing capacity หรือปลายของเสาเข็มที่วางอยู่บนชั้นดินแข็ง
ซึ่งแน่นอนเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมีความยาวสูงสุดแค่ 6 เมตรซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอนที่เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงเนี่ยจะวางอยู่บนชั้นดินแข็งเพราะ ระยะ 6 เมตร เป็นชั้นดินอ่อน เพราะฉะนั้นกำลังต้านทานการรับน้ำหนักของโครงสร้างจะมีแค่ Fiction หรือแรงเสียดทานเพียงอย่างเดียววิธีการคิดคำนวณก็ใช้พื้นที่ของผิวสัมผัสของเสาเข็มหกเหลี่ยม กลับค่า Fiction หรือคุณสมบัติของดิน
ในกรณีที่เราไม่ได้ทดสอบคุณสมบัติของดินที่เราก่อสร้าง เราจะใช้ค่าขั้นต่ำตามคำแนะนำของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พศ 2522 ให้ใช้กำลังการน้ำหนักของดิน 600 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
การวิบัติของเสาเข็มหกเหลี่ยม
การวิบัติของเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงนั้นจะมีการวิบัติง่าย 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 เป็นการวิบัติโดยพังที่เสาเข็ม เองหรือพูดง่ายๆว่าเมื่อเสาเข็มรับน้ำหนักแล้วเสาเข็มเกิดการหักการโก่งงอ พังที่เสาเข็มนั่นเอง รูปแบบที่ 2 เสาเข็มไม่ได้พังแต่วิบัติโดยดินพังหรือเกิดการทรุดตัว ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้วเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงยาว 6 เมตรอยู่ในชั้นดินอ่อนเนี่ยอย่างไรก็ตามเนี่ยเสาเข็ม จะไม่พังแต่จะพังโดยการทรุดตัวหรือดินพังนั่นเองหรือมีการทรุดตัวที่เยอะมากๆ เพราะฉะนั้นตัวที่วิกฤตที่สุดก็คือคุณสมบัติของดินนั่นเอง
เราจะกลับมาตอบคำถามว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง รับน้ำหนักได้เท่าไหร่นั้น จริงๆแล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการรับน้ำหนักของดินในสถานที่ก่อสร้างนั้นๆ ถามว่าโดยปกติแล้วเนี่ยงานต่อเติมโดยใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมเนี่ยเจ้าของงานหรือผู้รับเหมาหรือส่วนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเนี่ยจะทำการทดสอบดินไหม ตามหลักความจริงแล้วเนี่ยไม่มีใครมาทดสอบดินหรอก เพราะไม่คุ้มค่าเป็นงานขนาดเล็กเป็นงานปรับปรุงต่อเติมแต่ต้องอาศัยประสบการณ์ของวิศวกรหรือผู้รับจ้างโดยให้คำแนะนำแก่เจ้าของงานหรือแก่เจ้าของบ้านว่าควรจะต้องทำอย่างไร ปัญหาการทรุดตัวของเสาเข็มสั้นมีอยู่แล้ว แน่นอน แต่จะทำอย่างไรให้การทรุดตัวนี้อยู่ในค่าที่ยอมรับได้
การคำนวณการรับน้ำหนัก ของเสาเข็มหกเหลี่ยม กลวง
ความสามารถในการรับนํ้หนัก หนักของเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง ขึ้นอยู่กับ (1.)คุณสมบัติของดิน (2) คุณสมบัติของเสาเข็ม เนื่องจากไม่มีผลทดสอบดิน ให้พิจารณาการรับนํ้าหนักตามเทศบัญญัติ กรุงเทพมหานคร หน่วยแรงฝืดที่ยอมให้ = 600 kg./m2.เมื่อ ที่ความลึก < 7 เมตร
= 800+200L kg./m2 เมือความลึก > 7เมตร
โดยที่ L เป็นความยาวเสาเข็มส่วนที่เกิน 7 เมตร
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมีเส้นรอบรูป 0.52 เมตร ดังนั้นแรงฝืด = 0.52 * 600 = 312 kg./m. ดังนั้น
เสาเข็มยาว 2 เมตร รับนํ้าหนักได้ = 312 * 2 = 624 kg
เสาเข็มยาว 3 เมตร รับนํ้าหนักได้ = 312 * 3 = 936 kg
เสาเข็มยาว 4 เมตร รับนํ้าหนักได้ = 312 * 4 = 1,248 kg
เสาเข็มยาว 5 เมตร รับนํ้าหนักได้ = 312 * 5 = 1,560 kg
เสาเข็มยาว 6 เมตร รับนํ้าหนักได้ = 312 * 6 = 1,872 kg
ข้อมูลเรื่องเล่าทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นประสบการณ์ ส่วนตัวของผู้เขียน ข้อมูลต่างๆที่บุคคลใด จะนำไปใช้งานก็ต้อง วิเคราะห์ พิจารณาด้วยหลักการ และเหตุผลของตัวท่านๆเอง
หวังว่าประสบณ์การดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้อ่านได้ ไม่มากก็น้อย ครับ
https://www.facebook.com/solid.plank/"
ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"