แผ่นพื้นสำเร็จรูป,

โรงงานแผ่นพื้นสำเร็จรูป จังหวัดสมุทรสงคราม

 โรงงานแผ่นพื้นสำเร็จรูป  จังหวัดสมุทรสงคราม

บทความนี้จะกล่าวถึง :  แผ่นพื้นสำเร็จรูปในจังหวัดสมุทรสงคราม ในแง่มุมต่างๆของอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง

            ก่อนอื่นอยากไปทำความรู้จักกับจังหวัดสมุทรสงครามกันก่อน  จังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทยมีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศคือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตรทั้งยังจำนวนประชากรน้อยที่สุดของประเทศอีกด้วย  นับเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม     และมีชายฝั่งติดอ่าวไทยยาวประมาณ 23 กิโลเมตรซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากพ่อเป็นดินดอนปากแม่น้ำมีภูเขา 1 ลูกชื่อเขายี่สาร  ไม่มีเกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อยและเป็นจังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2562 

โรงงานแผ่นพื้นสำเร็จรูป  จังหวัดสมุทรสงคราม


จังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอื่นๆดังนี้  ทิศเหนือจดจังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสาคร ทิศตะวันออกจดเอาไทย  ทิศใต้จดจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันตกจดจังหวัดราชบุรีอำเภอปากท่อการปกครองในจังหวัดสมุทรสงครามนั้นแบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ 36 ตำบล 284 หมู่บ้าน    อำเภอก็มีอำเภอเมืองสมุทรสงคราม  อำเภอบางคนที      ประชากรส่วนใหญ่ของสมุทรสงคราม ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการประมงส่วนอุตสาหกรรมนั้นส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กโดยอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่อุตสาหกรรมผลิตน้ำปลา         สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสงครามก็มีอุทยานร 2   ค่ายบางกุ้ง ดอนหอยหลอด ตลาดน้ำท่าคา  ตลาดน้ำอัมพวา


โรงงานแผ่นพื้นสำเร็จรูป  จังหวัดสมุทรสงคราม


                อุตสาหกรรมการก่อสร้างในจังหวัดสมุทรสงครามนั้นถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีการเติบโตสักเท่าไหร่เพราะอาชีพหลักของประชาชนในจังหวัดสมุทรสงครามส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นอุตสาหกรรมผลิตเกี่ยวกับอาหารทะเลหรือแปรรูปอาหารทะเลหรือเกษตรกรรม  อุตสาหกรรมก่อสร้างที่เกิดขึ้นในจังหวัดสมุทรสงครามนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่ รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภคของประชาชนในพื้นที่  หรือสาธารณูปโภคที่รองรับนักท่องเที่ยวต่างๆ  อุตสาหกรรมการก่อสร้างในจังหวัดสมุทรสงครามถ้าเทียบกับจังหวัดอื่นถือว่าเติบโตไม่ได้มากนัก 


แผ่นพื้นสำเร็จรูป ก็เป็นวัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมในจังหวัดสมุทรสงคราม มีโรงงานแผ่นพื้นสำเร็จรูปเกิดขึ้นในจังหวัดสมุทรสงคราม ที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์อยู่ประมาณ  3 โรงงาน   ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งานในตัวจังหวัดสมุทรสงคราม  ที่เหลือก็จะเป็นนำเข้ามาจากจังหวัดใกล้เคียงหรือนำเข้ามาจากโรงงานใกล้เคียงในกรุงเทพฯ 


โรงงานแผ่นพื้นสำเร็จรูป  จังหวัดสมุทรสงคราม

ความต้องการใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูป ในจังหวัดสมุทรสงคราม

ความต้องการใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูปในจังหวัดสมุทรสงครามนั้น มีการต้องการใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปในการก่อสร้างในจังหวัดสมุทรสงครามซึ่ง ซึ่งโรงงานที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานเพราะโรงงานที่มีอยู่ในจังหวัดสมุทรสงครามมีน้อยกระบวนการผลิตไม่ทันต่อความต้องการใช้งานในจังหวัดสมุทรสงครามจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ปี 2560-2561  ระบุว่ามีการ มีการใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูปในจังหวัดสมุทรสงครามถึง ถึง 2 แสน ตารางเมตร /ปี  ซึ่งโรงงานแผ่นพื้นสำเร็จรูปในจังหวัดสมุทรสงครามสามารถผลิตได้ประมาณแค่ 100 ตารางเมตรต่อปีเท่านั้น  จึงทำให้ผู้ใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปในจังหวัดสมุทรสงครามต้องนำหรือสั่งซื้อแผ่นพื้นสำเร็จรูปจากจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาใช้งาน ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม

โรงงานแผ่นพื้นสำเร็จรูป  จังหวัดสมุทรสงคราม


      การจัดส่งแผ่นพื้นสำเร็จรูปในจังหวัดสมุทรสงคราม

โดยปกติแล้วการจัดส่งแผ่นพื้นสำเร็จรูปในจังหวัดสมุทรสงครามเท่าที่เห็นการขนส่งรถบรรทุกก็จะมีทั้งรถบรรทุกสิบล้อรถบรรทุก 6 ล้อหรือบางครั้งถ้าเป็นโครงการใหญ่ๆก็มีรถรถบรรทุกเทเลอร์  ที่จัดส่งแผ่นพื้นสำเร็จรูปเข้าไปหน้างานในจังหวัดสมุทรสงคราม       สมุทรสงครามการจราจรคอมไม่ติดขัดเหมือนกรุงเทพฯแต่ถ้าแผ่นพื้นสำเร็จรูปมาจากในกรุงเทพฯหรือทางนครปฐม  ก็ต้องมาเจอปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงถนนพระราม 2 ซึ่งทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก จึงต้องมีการวางแผนเรื่องเวลาในการจัดแผ่นพื้นสำเร็จรูปเข้าไปจังหวัดสมุทรสาครเป็นอย่างดี    

โครงการก่อสร้างที่เลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปในจังหวัดสมุทรสงคราม

ขอขอบคุณคุณกวางโครงการอาคารพักอาศัย 2 ชั้นจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ตัดสินใจเลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปจากโรงงานของเราขอบพระคุณเป็นอย่างสูงขอให้มีสุขภาพแข็งแรง ห่างจากห่างไกลจากโควิดด้วยครับ  


ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งเล็กๆ ของความสำเร็จของลูกค้าทุกคนครับ

ติดต่อสั่งซื้อเสาเข็มตัวไอ  ของเราได้ 02 988 5559, 089 0795722

หรือ IDline: @TRICH (มี@ ข้างน้านะค่ะ)

เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ และผลงานขายของเราได้ที่

ผลิตภัณฑ์ แผ่นพื้นสำเร็จรูปและเสาเข็มอัดแรง


http://www.trichgroup.com/

https://www.facebook.com/solid.plank/"

ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"


จัดส่ง #แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จ #แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป #แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปหนองจอก  #แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปคลองสามวา   #แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปรามอิน      #แผ่นพื้นสำเร็จรูปลำลูก     #แผ่นพื้นสำเร็จรูปปทุมธานี     #แผ่นพื้นสำเร็จรูปรังสิต   #แผ่นพื้นสำเร็จรูปหลองหลวง #แผ่นพื้นสำเร็จรูปวังน้อย อยุธยา #แผ่นพื้นสำเร็จรูปบางประอิน #แผ่นพื้นสำเร็จรูปกรุงเทพ #แผ่นพื้นสำเร็จรูปสมุทรปราการ    #แผ่นพื้นสำเร็จรูปสมุทรสาคร  #แผ่นพื้นสำเร็จรูปพระราม2  #แผ่นพื้นสำเร็จรูปเสรีไท   #แผ่นพื้นสำเร็จรูปพระราม3   #แผ่นพื้นสำเร็จรูปพระราม 4  #แผ่นพื้นสำเร็จรูปพระราม 5 #แผ่นพื้นสำเร็จรูปนนทบุรี  #แผ่นพื้นสำเร็จรูปบางใหญ่ #แผ่นพื้นสำเร็จรูปบางพลี   #แผ่นพื้นสำเร็จรูปบางเขน  #แผ่นพื้นสำเร็จรูปลาดกระบัง #แผ่นพื้นสำเร็จรูปฉะเชิงเทรา #แผ่นพื้นสำเร็จรูปบางน้ำเปรียว #แผ่นพื้นสำเร็จรูปหลองหลวง   #แผ่นพื้นสำเร็จรูปศรีนครินทร์    #แผ่นพื้นสำเร็จรูปบางพลี  #แผ่นพื้นสำเร็จรูปบางใหญ่   #แผ่นพื้นสำเร็จรูปบ้านโพธิ์ #แผ่นพื้นสำเร็จปทุมธานี  #แผ่นพื้นสำเร็จลำลูกกา  #แผ่นพื้นสำเร็จสามโคก  #แผ่นพื้นสำเร็จคลองหลวง #แผ่นพื้นสำเร็จหนองสือ  #แผ่นพื้นสำเร็จธัญบุรี  #แผ่นพื้นสำเร็จธัญบุรี ลาดหลุมแก้ว #แผ่นพื้นสำเร็จสามโคก


#แผ่นพื้นสำเร็จรูปสุขุมวิท    #แผ่นพื้นสำเร็จรูปคลองเตย   #แผ่นพื้นสำเร็จรูปสามเสน  #แผ่นพื้นสำเร็จรูปสายไหม #แผ่นพื้นสำเร็จรูปบางเขน #แผ่นพื้นสำเร็จรูป#แผ่นพื้นสำเร็จรูปคลองสามวา    #แผ่นพื้นสำเร็จรูปวังทองหลาง  #แผ่นพื้นสำเร็จรูปลาดพร้าว


#แผ่นพื้นสำเร็จรูปพัฒนาการ #แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ดอนเมือง

ขอบคุณที่มา : บริษัท ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์)

จัดทำบทความโดย: ทีริช กรุ๊ป ดอท คอม

สงวนลิขสิทธิ์บทความ ห้ามนำไปเผยแพร่

ก่อนได้รับอนุญาตจาก ทีริช กรุ๊ป ดอท คอม ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์

ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์

และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

( solid plank weight capacity) แผ่นพื้นสำเร็จรูปกับการรับน้ำหนัก

 แผ่นพื้นสำเร็จรูป กับการรับน้ำหนัก ( solid plank weight capacity)

เรื่องราวเกี่ยวกับ : แผ่นพื้นสำเร็จรูปกับความสามารถในการรับน้ำหนัก  วันนี้ผมมีประสบการณ์ดีๆจะมาแชร์ให้เพื่อนๆฟังเกี่ยวกับการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นสำเร็จรูป    มีลูกค้าโทรมาถามว่า แผ่นพื้นสำเร็จรูป ของคุณรับน้ำหนักได้เท่าไหร่??     คำถามนี้ตอบยากเพราะคำถามอาจจะไม่ชัดเจนหรือไม่ครบถ้วน   ซึ่งการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างเช่นความยาว  จำนวนเส้นลวด  ขนาดของเส้นลวด เป็นต้น  เพื่อนๆเคยสงสัยไหมที่ผู้ออกแบบหรือวิศวกรผู้ออกแบบได้กำหนดการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นสำเร็จรูป  ไว้ในแบบก่อสร้างที่เขียนว่า แผ่นพื้นสำเร็จรูป ต้องรับน้ำหนักจรได้ไม่น้อยกว่า 200 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนั้นหมายความว่าอย่างไร  200 กิโลกรัมต่อตารางเมตร  นั้นรวมน้ำหนักท็อปปิ้งแล้วหรือยังแล้วรวมน้ำหนักของ  Finishing  เช่นงานปูกระเบื้อง + ปูนทรายแล้วหรือยังวันนี้เราจะมาแชร์ไอเดีย  หรือเพิ่ม ความเข้าใจให้เพื่อนๆฟังเกี่ยวกับการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่ระบุไว้ในแบบก่อสร้าง

แผ่นพื้นสำเร็จรูปกับการรับน้ำหนัก
แผ่นพื้นสำเร็จรูปกับการรับน้ำหนัก 


น้ำหนักจรแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่ระบุในแบบ 

น้ำหนักจรที่ผู้ออกแบบหรือวิศวกรผู้ออกแบบกำหนดไว้ในแบบก่อสร้างสมมุติเช่นแผ่นพื้นสำเร็จรูปต้องรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 200 กิโลกรัมต่อตารางเมตร   200 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนี้หมายความว่ารวมงานเทโครงสร้างท็อปปิ้งหนา 5 ซมและงานฟินิชชิ่งปูกระเบื้องหนา 5 cm   คือน้ำหนักจรล้วนๆ 200 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 


แผ่นพื้นสำเร็จรูปกับการรับน้ำหนัก
แผ่นพื้นสำเร็จรูปกับการรับน้ำหนัก 




    ที่นี้เรามาดูตารางการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่เราเลือกใช้งานว่าเราจะต้องเลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปที่มีความหนาเท่าไหร่และมีเส้นลวดอัดแรงจำนวนกี่เส้น   เช่น ถ้าเราไปดูน้ำหนักจรในตารางการรับน้ำหนักของผู้ผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่มีการความสามารถ ในการรับน้ำหนัก 200 กิโลกรัมต่อตารางเมตรใช้ไม่ได้ เพราะว่าในตารางการรับน้ำหนักที่ระบุไว้ในส่วนของโรงงานผู้ผลิตนั้นคำว่า 200 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนั้นหมายความรวมถึงน้ำหนักของท็อปปิ้งแต่ไม่ได้รวมถึงน้ำหนักของฟินิชชิ่งหรืองานปูกระเบื้อง 

แผ่นพื้นสำเร็จรูปกับการรับน้ำหนัก
แผ่นพื้นสำเร็จรูปกับการรับน้ำหนัก 

 น้ำหนักของการปูกระเบื้องหนา 5 เซนติเมตร จะมีน้ำหนัก 120 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเพราะฉะนั้นถ้าในแบบระบุว่าต้องการแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่รับน้ำหนักได้ 200 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเราจะต้องดูตารางการรับน้ำหนักของผู้ผลิตอยู่ที่ 200 + 120 ก็จะเป็น 320 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถึงจะสามารถรับน้ำหนักตามที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้อย่างปลอดภัย 


จึงสรุปได้น้ำหนักจรที่ระบุไว้ในแบบก่อสร้างของแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้นเราจะต้องบวกเผื่อน้ำหนักของ finishing หรืองานตกแต่งของพื้นในงานหมวดสถาปัตยกรรมด้วย เพราะตารางการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นสำเร็จรูปของผู้ผลิตหรือของโรงงานผู้ผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูป นั้นจะหมายความรวมถึงน้ำหนัก 200 กิโลกรัมต่อตารางเมตรยังไม่รวมพิชชิ่งเขาถือว่าฟินิชชิ่งคืองานขัดมันเรียบคือเทท๊อปปิ้งเสร็จแล้วจบเลยเพราะเขาไม่สามารถรับรู้ได้ว่าฟินิชชิ่งของผู้ใช้งานนั้นเป็นอย่างไรก็คือเหมือนให้จบเป็นงานขัดมันพื้นขัดมันเทท๊อปปิ้งสดไปเลย 

แผ่นพื้นสำเร็จรูปกับการรับน้ำหนัก
แผ่นพื้นสำเร็จรูปกับการรับน้ำหนัก 


ความยาวของแผ่นพื้นสำเร็จรูปกับการรับน้ำหนัก

       ความยาวของแผ่นพื้นสำเร็จรูป   (solid  plank ) ความยาวของแผ่นพื้นสำเร็จรูปโดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบท้องเรียบ ความหนา 5 cm  ความยาวสูงสุดที่มาตรฐานอุตสาหกรรมรองรับอยู่ที่  4.50 เมตร   ถ้ามากกว่า 4 เมตร 50 นั้นถามว่าผลิตได้ไหมได้แต่มาตรฐานมอกรองรับไว้ที่  4.5  เมตร 

แผ่นพื้นสำเร็จรูปในท้องตลาดทั่วไปจะมีขนาดของเส้นลวดอัดแรงอยู่ที่ 4 มิลลิเมตร   ส่วนจำนวนจะเริ่มต้นที่ลวดอัดแรงสี่เส้นจนถึงลวดอัดแรง 8 เส้น   ซึ่งการใส่จำนวนเส้นลวดจะขึ้นอยู่หลายปัจจัยมีการกำหนดจำนวนของเส้นลวดโดยวิศวกรผู้ออกแบบแผ่นพื้นสำเร็จรูปโดยปกติแล้วความยาวของแผ่นพื้นสําเร็จรูป จะเริ่มต้นที่ลวด 4 เส้นแต่เมื่อแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่มีความยาวตั้งแต่ 3 เมตรจะใช้ลวดอัดแรง 5 เส้นและแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่มีความยาวตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไปจะใช้เส้นลวดอัดแรงจำนวน 6 เส้นตามลำดับนี่เป็นแค่สเปคในการออกแบบคร่าวๆ เท่านั้น   

ส่วนการใส่เส้นลวดโดยปกติแล้วจะคำนวณจากการรับน้ำหนักจรและความยาวของแผ่นพื้นสำเร็จรูปเป็นหลักซึ่งจะได้รับการออกแบบดังกล่าวจากวิศวกรผู้ออกแบบแผ่นพื้นสำเร็จรูป 


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย 

ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งเล็กๆ ของความสำเร็จของลูกค้าทุกคนครับ

ติดต่อสั่งซื้อเสาเข็มตัวไอ  ของเราได้ 02 988 5559, 089 0795722

หรือ IDline: @TRICH (มี@ ข้างน้านะค่ะ)

เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ และผลงานขายของเราได้ที่

ผลิตภัณฑ์ แผ่นพื้นสำเร็จรูปและเสาเข็มอัดแรง


http://www.trichgroup.com/

https://www.facebook.com/solid.plank/"

ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"

Hollow hexagon TIS (เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมี มอก.ไหม ?)

 เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมี มอก.ไหม  ?

                เรื่องราวเกี่ยวกับ:  เสาเข็มหกเหลี่ยม มอก.    วันนี้ อยากจะแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง    มีลูกค้าสอบถามกันมาเยอะมากสำหรับเรื่องเสาเข็มหกเหลี่ยมมีมอกไหม  เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงต้องมี  มอก.นะไม่งั้นไม่รับสินค้านะ”   “ใช้งานไม่ได้นะ”  เพราะเป็นงานราชการ ผู้ควบคุมงานต้องการเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง ที่มี มอก. รองรับ   ลูกค้าบางท่านก็โทรเข้ามาถามขอเอกสารรับรองการรับน้ำหนักเพื่อขออนุมัติใช้งานในโครงการก่อน  ที่จะมีการสั่งซื้อเป็นอีกแล้วใช่ไหม  นี่เป็นคำสนทนาบางส่วนของลูกค้าเวลาจะมาซื้อ เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง ของเรา    ขอใช้พื้นที่ตรงนี้อธิบายเกี่ยวกับการรับน้ำหนักของเสาเข็มหกเหลี่ยม และการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม 

เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมี มอก.

เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง  มอก ไม่รองรับรอง 

                    เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมาตรฐานอุตสาหกรรมไม่ได้รองรับเสาเข็มประเภทนี้เพราะเป็นเข็มที่เล็กมาก  แต่เสาเข็มประเภทนี้เนี่ยก็สามารถใช้ในงานสเปคหรือในงานราชการที่กำหนดสเปคหรือมาตรฐาน  ตามหน่วยงานนั้นๆได้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องมีมาตรฐานหรือเอกสารรับรองการรับน้ำหนักของเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง ตามมาตรฐานผู้ผลิต 

   เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมีรูปแบบการผลิต 2 รูปแบบรูปแบบที่ 1  เป็นเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบธรรมดาซึ่งไม่ได้มีการดึงลวดอัดแรงเข้าไปในเนื้อคอนกรีต    แบบที่ 2 เป็นการผลิตแบบอัดแรงเข้าไปในเนื้อของคอนกรีตหรือเราเรียกว่าคอนกรีตอัดแรง  ทั้งสองลักษณะนี้มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมี มอก.


สาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบธรรมดาแตกต่างกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรงอย่างไร  

            จากการที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงธรรมดากับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรง มีกระบวนการในการผลิตที่ไม่เหมือนกันเสาเข็มหกเหลี่ยมแบบธรรมดานั้นก็จะมีการหล่อเสาเข็ม   แต่ไม่มีการอัดแรงเข้าไปเนื้อของคอนกรีต  ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรงจะมีการดึงลวดหรืออัดแรงเข้าไปในเนื้อคอนกรีต

ถามว่ามีความแตกต่างในเรื่องของการรับน้ำหนักกันอย่างไร     มีความแตกต่างกันในเรื่องของลักษณะการรับแรงทางด้านข้าง   พูดง่ายๆให้เห็นภาพชัดเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรงเนี่ยจะมีความทนทานต่อการรับแรงด้านข้างได้ดีกว่า เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงธรรมดา


ยกตัวอย่างเช่นเวลาเรายกหรือเคลื่อนย้าย เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง โดยมีการหิ้วเสาเข็มขึ้นไปเสาเข็มหกเหลี่ยมอัดแรงจะไม่มีความเสี่ยงต่อการแตกร้าวหรือแตกร้าวได้น้อย เมื่อเทียบกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบตัวธรรมดาเนี่ยจะมีโอกาสในการแตกร้าวสูงเพราะรับแรงด้านข้างไม่ได้แต่เมื่อ   เสาเข็มพวกนี้ตอกลงไปในดินอยู่ข้างล่างแล้วเนี่ยการรับน้ำหนักในแนวดิ่งเนี่ยเท่ากัน 


 ดังนั้นเราจึงเห็นถึงความแตกต่างระหว่างเสาเข็มหกเหลี่ยมอัดแรงกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบธรรมดาแล้วเนี่ยจะมีความแตกต่างในเรื่องของการรับแรงในด้านข้างเท่านั้นเอง  ซึ่งเสาเข็มทั้ง 2 ตัวนี้มีการผลิตที่แตกต่างกันมีมีความยากง่ายที่แตกต่างกันจึงทำให้เสาเข็มหกเหลี่ยมอัดแรงมีราคาที่สูงกว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมธรรมดาทั่วๆไปอยู่พอสมควร


การรับน้ำหนักของเสาเข็มหกเหลี่ยม  

เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง เป็นเข็มขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 cm   ความยาวสูงสุด 6 เมตร มีรูปทรงเป็นหกเหลี่ยม ตรงกลางจะมีรูกลวง  โดยปกติการรับน้ำหนักของเสาเข็ม  พฤติกรรมในการรับน้ำหนักของเสาเข็มโดยทั่วไปเราจะออกแบบการรับน้ำหนักของเสาเข็มโดยให้ส่วนที่ 1 เราจะใช้ Fiction  หรือแรงเสียดทานของผิวรอบข้างของเสาเข็ม  และ 2 เราจะใช้ Bearing capacity หรือปลายของเสาเข็มที่วางอยู่บนชั้นดินแข็ง


   ซึ่งแน่นอนเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมีความยาวสูงสุดแค่ 6 เมตรซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอนที่เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงเนี่ยจะวางอยู่บนชั้นดินแข็งเพราะ ระยะ 6 เมตร เป็นชั้นดินอ่อน เพราะฉะนั้นกำลังต้านทานการรับน้ำหนักของโครงสร้างจะมีแค่ Fiction หรือแรงเสียดทานเพียงอย่างเดียววิธีการคิดคำนวณก็ใช้พื้นที่ของผิวสัมผัสของเสาเข็มหกเหลี่ยม  กลับค่า Fiction  หรือคุณสมบัติของดิน

ในกรณีที่เราไม่ได้ทดสอบคุณสมบัติของดินที่เราก่อสร้าง เราจะใช้ค่าขั้นต่ำตามคำแนะนำของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พศ 2522 ให้ใช้กำลังการน้ำหนักของดิน 600 กิโลกรัมต่อตารางเมตร


การวิบัติของเสาเข็มหกเหลี่ยม  

การวิบัติของเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงนั้นจะมีการวิบัติง่าย 2 รูปแบบ  รูปแบบที่ 1 เป็นการวิบัติโดยพังที่เสาเข็ม เองหรือพูดง่ายๆว่าเมื่อเสาเข็มรับน้ำหนักแล้วเสาเข็มเกิดการหักการโก่งงอ พังที่เสาเข็มนั่นเอง  รูปแบบที่ 2 เสาเข็มไม่ได้พังแต่วิบัติโดยดินพังหรือเกิดการทรุดตัว ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้วเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงยาว 6 เมตรอยู่ในชั้นดินอ่อนเนี่ยอย่างไรก็ตามเนี่ยเสาเข็ม จะไม่พังแต่จะพังโดยการทรุดตัวหรือดินพังนั่นเองหรือมีการทรุดตัวที่เยอะมากๆ เพราะฉะนั้นตัวที่วิกฤตที่สุดก็คือคุณสมบัติของดินนั่นเอง


เราจะกลับมาตอบคำถามว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง รับน้ำหนักได้เท่าไหร่นั้น    จริงๆแล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการรับน้ำหนักของดินในสถานที่ก่อสร้างนั้นๆ ถามว่าโดยปกติแล้วเนี่ยงานต่อเติมโดยใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมเนี่ยเจ้าของงานหรือผู้รับเหมาหรือส่วนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเนี่ยจะทำการทดสอบดินไหม ตามหลักความจริงแล้วเนี่ยไม่มีใครมาทดสอบดินหรอก เพราะไม่คุ้มค่าเป็นงานขนาดเล็กเป็นงานปรับปรุงต่อเติมแต่ต้องอาศัยประสบการณ์ของวิศวกรหรือผู้รับจ้างโดยให้คำแนะนำแก่เจ้าของงานหรือแก่เจ้าของบ้านว่าควรจะต้องทำอย่างไร   ปัญหาการทรุดตัวของเสาเข็มสั้นมีอยู่แล้ว   แน่นอน แต่จะทำอย่างไรให้การทรุดตัวนี้อยู่ในค่าที่ยอมรับได้ 


การคำนวณการรับน้ำหนัก ของเสาเข็มหกเหลี่ยม กลวง  

ความสามารถในการรับนํ้หนัก หนักของเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง   ขึ้นอยู่กับ (1.)คุณสมบัติของดิน (2) คุณสมบัติของเสาเข็ม  เนื่องจากไม่มีผลทดสอบดิน ให้พิจารณาการรับนํ้าหนักตามเทศบัญญัติ กรุงเทพมหานคร   หน่วยแรงฝืดที่ยอมให้ = 600 kg./m2.เมื่อ ที่ความลึก < 7 เมตร

= 800+200L kg./m2 เมื􀃉อความลึก > 7เมตร


โดยที่ L เป็นความยาวเสาเข็มส่วนที่เกิน 7 เมตร

เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมีเส้นรอบรูป 0.52 เมตร ดังนั้นแรงฝืด = 0.52 * 600 = 312 kg./m. ดังนั้น

เสาเข็มยาว 2 เมตร รับนํ้าหนักได้ = 312 * 2 = 624 kg  

เสาเข็มยาว 3 เมตร รับนํ้าหนักได้ = 312 * 3 = 936 kg

เสาเข็มยาว 4 เมตร รับนํ้าหนักได้ = 312 * 4 = 1,248 kg 

เสาเข็มยาว 5 เมตร รับนํ้าหนักได้ = 312 * 5 = 1,560 kg 

เสาเข็มยาว 6 เมตร รับนํ้าหนักได้ = 312 * 6 = 1,872 kg 


ข้อมูลเรื่องเล่าทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นประสบการณ์ ส่วนตัวของผู้เขียน ข้อมูลต่างๆที่บุคคลใด จะนำไปใช้งานก็ต้อง วิเคราะห์ พิจารณาด้วยหลักการ และเหตุผลของตัวท่านๆเอง  
หวังว่าประสบณ์การดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้อ่านได้ ไม่มากก็น้อย ครับ  


เยี่ยมชมโรงงานผลิต ได้ที่นี่

https://www.facebook.com/solid.plank/"

ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"