การรับน้ำหนักของ เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง
เคยมีลูกค้าถามว่า เสาเข็มหกเหลี่ยม รับน้ำหนักได้เท่าไหร่ ต่อต้น ?
เสาเข็มหกเหลี่ยมรับน้ำหนักได้กี่ตัน
ปกติแล้วเราจะใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมในงานขนาดเล็กๆ
รับน้ำหนักไม่มาก งานต่อเติมทั่วไป
สำหรับงานรั้ว งานบ้านพักอาศัยขนาดปานกลาง
หรืออื่น ๆ ที่รับน้ำหนักไม่มากนัก
แต่เสาต้นที่รับน้ำหนักมากอาจต้องใช้เสาเข็มจำนวนมาก
อาจจะมากกว่า 10 ต้น
แล้วแต่ขนาดของช่วงเสา (ขนาดห้อง)
ซึ่งหากใช้เสาเข็มจำนวนมาก
จะทำให้ฐานรากมีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ประหยัด
และอาจส่งผลต่อความปลอดภัย จำเป็นต้องปรึกษา
วิศวกรโครงสร้างเพื่อคำนวนน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย
ที่เห็นใช้คนประมาณ10 คน ขึ้นไปขย่มถ้าขย่มลงไปทั้ง 6 เมตร ก็พอใช้ได้
คือเป็นการตอกเสาเข็มโดยใช้แรงคนแทนปั้นจั่นที่ว่าพอใช้ได้คือในทางปฏิบัติจริงแล้วผู้รับเหมามักจะใช้เสียมขุดดินลงไปเป็นรู
ลึกลงไปมาก ๆ แล้วจึงใช้เสาเข็มเสียบลงไปจากนั้นจะขย่มแค่ไม่กี่ครั้ง
เสาเข็มก็จะจมลงไปหมด ซึ่งน่ากลัวมาก เพราะเสาเข็มจะรับน้ำหนักได้ไม่เต็มที่
โดยเหตุที่ว่า เสาเข็มสั้นจะอาศัยการรับน้ำหนักโดยความฝืดของดิน
ตัวอย่างการคำนวณการรับน้ำหนักของเสาเข็มหกเหลี่ยม
ยกตัวอย่างเช่น ในกรุงเทพ ฯ
ข้อบัญญัติ กทม. ความฝืดช่วง 7 เมตร แรกนั้น 600 kg/m^2 เสาหกเหลี่ยมกลวงมีเส้นรอบรูป 0.45 เมตร ดังนั้นแรงฝืด = 0.45 * 600 = 270 kg/m ดังนั้น
เสาเข็มยาว 3 เมตร รับน้ำหนักปลอดภัยได้ = 270 * 3 =
810 kg
เสาเข็มยาว 4 เมตร รับน้ำหนักปลอดภัยได้ = 270 * 4 =
1080 kg
เสาเข็มยาว 5 เมตร รับน้ำหนักปลอดภัยได้ = 270 * 5 =
1350 kg
เสาเข็มยาว 6 เมตร รับน้ำหนักปลอดภัยได้ = 270 * 6 =
1620 kg
การใช้เสียมขุดดินลงไปเป็นรู ลึกลงไปมาก ๆ แล้วจึงใช้เสาเข็มเสียบลงไปจะทำให้ดินสูญเสียค่าความฝืดในการยึดเกาะเสาเข็ม