แผ่นพื้นสำเร็จรูป,

ตารางการรับน้ำหนัก กับการเลือกใช้ แผ่นพื้นสำเร็จรูป

ตารางการรับน้ำหนัก กับการเลือกใช้ แผ่นพื้นสำเร็จรูป

                 มีคำถามจากลูกค้าที่ถามเราอยู่บ่อยๆ ว่าบ้านพักอาศัยของลูกค้าจะต้องใช้ลวดกี่่เส้น?  หรือ ตึกแถวของผมจะต้องใช้ลวดเท่าไหร่ ?
แล้วจากตารางจะเลือกอย่างไร? น้ำหนักที่เลือกใช้ตารางนั้น เป็นน้ำหนักจรใช่ไหม ? แล้วน้ำหนักจรนั้นหมายรวมถึงปูกระเบื้องด้วยใช่ไหม ?

หลักการออกแบบแผ่นพื้นสำเร็จรูป

       ขอเรียนลูกค้าอย่างนี้ว่า  หลักการออกแบบแผ่นพื้นสำเร็จรูปของโรงงานเรานั้น จะพิจารณาน้ำหนักดังต่อไปนี้

น้ำหนักตายตัว 

1. น้ำ หนัก ในส่วนของ Selfweight(SW.)ประกอบด้วยส่วนคอนกรีตเททับหน้า (Concrete topping) และส่วนคอนกรีตที่หล่อแผ่นพื้น
2. ในส่วนของ Finishing load(FL.) เป็นวัสดุแต่งผิวต่างๆ เช่น นน.ปูกระเบื้องต่างๆ เป็นต้น
3. น้ำหนักอื่นๆ เช่น ระบบฝ้า ไฟฟ้า ดวงโคม พัดลม และอุปกรณ์แขวนต่างๆใต้ท้องพื้น

น้ำหนักบรรทุกจร (Live Load)

1. ต้องใช้ตามกรอบของ พรบ.ควบคุมอาคาร/ข้อบัญญัติ กทม. ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของอาคารและ Function การใช้งานเฉพาะอาคารนั้นๆ

น้ำหนักจรของแผ่นพื้นสำเร็จรูป

              เพราะฉะนั้น สิ่งที่ลูกค้าควรจะรู้ก่อนตัดสินใจเลือกแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้น  คือว่าอาคารของท่านเป็นอาคารประเภทไหน รับน้ำหนักจรเท่าไหร่ (ถ้าไม่รู้หรือไม่รู้หรือไม่เข้า
ใจควรปรึกษาวิศวกรผู้ออกแบบ หรือวิศวกรควบคุมงาน)  เมื่อท่านได้น้ำหนักจรแล้วท่านก็สามารถเลือกขนาด และจำนวนของเส้นลวดได้เลยใน ตารางการรับน้ำหนัก
ของโรงงานเรา หรือถ้าท่านไม่มั่นใจ ท่านก็ขอคำปรึกษาจาก  วิศวกรของโรงงานเราโดยตรง เราไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม และรับรองว่าท่านจะด้รับการดูแลจากเราอย่างเต็มที่

ขอบพระคุณ


จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอทคอม
วิศวกรออกแบบ :(Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย



การรับน้ำหนักของ แผ่นพื้นสำเร็จรูป

การรับน้ำหนักของ แผ่นพื้นสำเร็จรูป

การรับน้ำหนักของแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปนั้นปกติแล้ว  วิศวกรโครงสร้างจะออกแบบแล้วจะสรุปออกมาเป็นตารางเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้งานตามความต้องการ   ซึ่งที่มาที่ไปและข้อมูลประกอบ หรือเงื่อนไงในการออกแบบ นั้น จะไม่ขอกล่าวไว้นี่นี้  ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วไม่ใช่ว่า เราซื้อแผ่นพื้นสำเร็จรูปมาใช้งานตามตารางการรับน้ำหนักของผู้ผลิตแล้ว จะรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยได้ตามนั้นจริงๆ   เราก็ต้องดำเนินการก่อสร้างทุกอย่างตามมาตรฐานและตามคำแนะนำของผู้ผลิตด้วย

ปัจจัยที่มีผลต่อการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป นั้นมีดังต่อไปนี้

1.คอนกรีตเททับหน้า   (Topping ConCrete) ควรมีกำลังอัดประลัยไม่น้อยกว่า 210 ksc.   ไม่แนะนำที่จะให้คนงานผสมคอนกรีตเองเพราะจะไม่สามารถ ควบคุม สัดส่วน และ คุณภาพในการรับน้ำหนักได้
                ความหนาของคอนกรีตทับหน้านั้น อย่าเทคอนกรีตทับหน้าให้หนามากเกินไป  เพราะจะทำให้เพิ่มน้ำหนักให้แผ่นพื้นโดยใช่เหตุ โดยไม่จำเป็น  ให้เทหนาเท่ากับที่แบบแปลนกำหนด  หรือถ้าทำไม่ได้ให้ปรึกษาวิศวกรโครงสร้างดีที่สุด

2.   การเสริมเหล็กกันร้าว และเสริมเหล็ก Shear Key บริเวณหัวเสาหรือหัวของแผ่นพื้น  ต้องเสริมให้มีปริมาณที่เพียงพอตามแบบแปลน หรือตามวิศวกรผู้ออกแบบแนะนำ

3. การค้ำยันใต้ท้องแผ่นพื้นสำเร็จรูป    การเทคอนกรีตทับหน้านั้นน้ำหนักของคอนกรีตจะมีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักที่วิศวกรได้ออกแบบไว้ แต่แรกอาจจะทำให้แผ่นพื้นแอ่นตัว   เพราะคอนกรีตจะกองอยู่เป็นจุดๆ เพราะฉะนั้นเราต้องทำการค้ำยันใต้แผ่นพื้นสำเร็จรูปแต่จะค้ำกี่ช่วง? หรือถี่แค่ไหน นั้นต้องดูความยาวของแผ่นพื้นสำเร็จรูปเป็นหลัก และให้ดีที่สุดต้องค้ำยันตามวิศวกรควบคุมงานกำหนด  ระยะเวลาในการค้ำยันใต้ท้องพื้นนั้นต้องรอให้แผ่นพื้นแข็งตัวอย่างน้อย  7 วันหรือตามคำแนะนำของวิศวกรผู้ออกแบบ หรือวิศวกรควบคุมงาน

4.การเตรียมพื้นผิว ก่อนเทคอนกรีตทับหน้า    ก่อนเทคอนกรีตทับหน้าต้องทำความสะอาดแผ่นพื้นสำเร็จรูปอย่าให้มีสิ่งแปลกปลอม ควรฉีดน้ำให้แผ่นพื้นสำเร็จรูปเปียกน้ำ เพราะถ้าแผ่นพื้นสำเร็จรูปแห้งอยู่แล้วทำการเทคอนกรีตทับหน้าแผ่นพื้นที่แห้งจะดูดเอาน้ำจากคอนกรีตทำให้คอนกรีตทับหน้าศูนย์เสียน้ำและจะแห้งเร็วเกินไปทำให้ศูนย์เสียกำลังได้
5. การจี้หรือเขย่าคอนกรีตระหว่างเท     ระหว่างที่เทคอนกรีตควรเน้นการจี้หรือเขย่าคอนกรีตให้คอนกรีตแน่นเป็นเนื้อเดียวกันมากที่สุดจะทำให้คอนกรีตมีกำลังอัดที่สูงขึ้น

6. การบ่มคอนกรีต      ควรบ่มคอนกรีตทันทีเมื่อเทเสร็จหรือคอนกรีตแข็งตัว เพื่อป้องกันการเกิด  การแตกร้าวแบบพลาสติก  (Plastic Shrinkage Crack) อาจใช้การพรหมน้ำ ใช้พลาสติกคลุม หรือใช้กระสอบป่านคลุมแล้วฉีดให้ชุมน้ำ

เลือกใช้ตามความสะดวก  การบ่มควรบ่มกันอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 7 วัน


                   เท่านี้โครงสร้างพื้นของท่านก็รับน้ำหนักบรรทุกได้ตามมาตรฐานที่วิศวกรได้ออกแบบไว้ แต่ตอนแรก 




ราคาปูนฉาบสำเร็จรูป

ราคาปูนฉาบสำเร็จรูป
งานฉาบปูนนั้นในสมัยก่อนที่ยังไม่มีปูนซีเมนต์ การก่อหรือการฉาบผนังหรือกำแพง นิยมใช้ปูนขาวผสมกับทราายและใช้น้ำอ้อยเป็นตัวเชื่อมปูนขาว โดยจะเกิดปฎิกิริยากับก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ในอากาศกลายเป็นวัสดุที่แกร่ง การยืดหดตัวของปูนขาวเมื่อแข็งจะมีมากกว่าปูนซีเมนต์

เนื่องจากความไม่สะดวกในการหมักปูนขาวก่อนนำมาใช้ เพราะการใช้ปูนขาวต้องเสียเวลในการร่อนและหมักใช้ปูนขาวละลายน้ำก่อน อีกทั้งราคาของปูนขาวถ้าเทียบน้ำหนักก็ใกล้เคียงกับราคาของปูนซีเมนต์ ดังนั้นหน่วยงานก่อสร้างส่วนใหญ่ จึงนิยมใช้น้ำยาผสมปูนฉาบเพื่อเพิ่มความเหนียวลื่นให้แก่ปูนฉาบแทนการใช้ปูนขาว     แต่ในปัจจุบันเราสามารถใช้ปูนผสมหรือที่เราเรียกว่าปูนเขียว ผสมกับทรายละเอียดในอัตราส่วน 1:2.25 โดยปริมาตรหรือใช้ปูนผสม 1 ถุงต่อทรายละเอียด 8-9 บุ้งกี๋

แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการฉาบปูน คือ ไม่สามารถควบคุมคุณภาพทรายที่นำมาผสมปูนฉาบให้มีขนาดเม็ดที่เหมาะสมและมักจะมีสิ่งสกปรกหรือสารเคมีเจือปนอยู่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดจากการผสมที่ไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสมอย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยการใช้ ปูนฉาบสำเร็จรูป
             ปูนฉาบสำเร็จรูปคือ ส่วนผสมของปูนซีเมนต์ หินบดละเอียด และสารผสมเพิ่มคุณสมบัติสำหรับงานฉาบ ตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับงานฉาบและมีการควบคุมส่วนผสม และคุณภาพของวัสดุดิบให้มีความสมำเสมอ ทำให้ได้ปูนฉาบที่มีคุณภาพเหมาะสมกับปูนฉาบ มีแรงยึดเกาะที่ดีกว่าเพื่่อช่วยลดปัญหาแตกร้าว หลุดล่อน สะดวกในการใช้งาน เพียงฉีกถุงผสมน้ำก็สามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องผสมทรายหรือสารเคมีเพิ่มเติมจึงสามารถป้องกันปัยหาทรายที่ไม่ได้มาตรฐาน และการผสมที่ไม่ถูกสัดส่วนได้อย่างดี อีกทั้งการบรรจุถุงยังช่วยลดปัญหาการสูญเสียเนื่องจากการกองเก็บและการขนย้าย และยังใช้พื้นที่ในการกองเก็บหน้างานน้อย



          ปัจจุบันปูนฉาบสำเร็จรุปมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด หลายยี่ฮ้อ ซึ่งแต่ละยี่ฮ้อก็มีกรมวิธีและกระบวนการผลิตที่ใกล้เคียงกันซึ่งแล้วแต่ทางผู้ใช้จะยึดติดหรือจากประสบณ์ของผู้ใช้เองว่าจะใช้ ปูนฉาบสำเร็จรูปยี่ฮ้ออะไร ทางบริษัทฯ ของเราเป็นตัวแทนจำหน่ายปูนซีเมนต์ทุกยี่ฮ้อ
โดยเฉพาะปูนฉาบสำเร็จรูปซึ่งมีราคาถูกและเราส่งตรงถึงหน้างานลุกค้า และทางบริษัทมีบริการให้คำปรึกษาโดยวิศวกรและช่างเทคนิคโดยมีการสาธิตและแนะนำลูกค้าถึงโครงการของลูกค้าเองโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยติดต่อมายัง

บริษัท ทีริชคอนสทรัคชั่น(ไทยแลนด์) จำกัด

101/48 แขวงลำผักชี เชตหนองจอก กทม. 10530
089-079-5722,
Tel/Fax. 02-988-5559 ,
094-335-5230
Email: info@Trichgroup.com







เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง กับการรับน้ำหนัก

การรับน้ำหนักของ เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง 



เคยมีลูกค้าถามว่า เสาเข็มหกเหลี่ยม รับน้ำหนักได้เท่าไหร่ ต่อต้น   ?


เสาเข็มหกเหลี่ยมรับน้ำหนักได้กี่ตัน 


    

   ปกติแล้วเราจะใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมในงานขนาดเล็กๆ รับน้ำหนักไม่มาก งานต่อเติมทั่วไป 
สำหรับงานรั้ว งานบ้านพักอาศัยขนาดปานกลาง หรืออื่น ๆ ที่รับน้ำหนักไม่มากนัก
แต่เสาต้นที่รับน้ำหนักมากอาจต้องใช้เสาเข็มจำนวนมาก อาจจะมากกว่า 10 ต้น
แล้วแต่ขนาดของช่วงเสา (ขนาดห้อง) ซึ่งหากใช้เสาเข็มจำนวนมาก
จะทำให้ฐานรากมีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ประหยัด และอาจส่งผลต่อความปลอดภัย จำเป็นต้องปรึกษา
วิศวกรโครงสร้างเพื่อคำนวนน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย

ที่เห็นใช้คนประมาณ10 คน ขึ้นไปขย่มถ้าขย่มลงไปทั้ง 6 เมตร ก็พอใช้ได้ คือเป็นการตอกเสาเข็มโดยใช้แรงคนแทนปั้นจั่นที่ว่าพอใช้ได้คือในทางปฏิบัติจริงแล้วผู้รับเหมามักจะใช้เสียมขุดดินลงไปเป็นรู ลึกลงไปมาก ๆ แล้วจึงใช้เสาเข็มเสียบลงไปจากนั้นจะขย่มแค่ไม่กี่ครั้ง เสาเข็มก็จะจมลงไปหมด ซึ่งน่ากลัวมาก เพราะเสาเข็มจะรับน้ำหนักได้ไม่เต็มที่  โดยเหตุที่ว่า เสาเข็มสั้นจะอาศัยการรับน้ำหนักโดยความฝืดของดิน



  ตัวอย่างการคำนวณการรับน้ำหนักของเสาเข็มหกเหลี่ยม


 ยกตัวอย่างเช่น ในกรุงเทพ ฯ 

ข้อบัญญัติ กทม. ความฝืดช่วง 7 เมตร แรกนั้น 600 kg/m^2 เสาหกเหลี่ยมกลวงมีเส้นรอบรูป 0.45 เมตร ดังนั้นแรงฝืด = 0.45 * 600 = 270 kg/m ดังนั้น

เสาเข็มยาว 3 เมตร รับน้ำหนักปลอดภัยได้ = 270 * 3 = 810  kg

เสาเข็มยาว 4 เมตร รับน้ำหนักปลอดภัยได้ = 270 * 4 = 1080 kg

เสาเข็มยาว 5 เมตร รับน้ำหนักปลอดภัยได้ = 270 * 5 = 1350 kg

เสาเข็มยาว 6 เมตร รับน้ำหนักปลอดภัยได้ = 270 * 6 = 1620 kg

การใช้เสียมขุดดินลงไปเป็นรู ลึกลงไปมาก ๆ แล้วจึงใช้เสาเข็มเสียบลงไปจะทำให้ดินสูญเสียค่าความฝืดในการยึดเกาะเสาเข็ม 


รอยร้าวใน แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป

รอยร้าวใน แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป

รอยร้าวในแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป


        มีลูกค้าซื้อแผ่นพื้นสำเร็จรูปจากโรงงานของเรา ไปทำบ้านพักอาศัย 3  ชั้น   อาทิตย์ผ่านมา กลับมาหาเราในท่าทีที่ว่าแผ่นพื้นจากโรงงานเราไม่ได้คุณภาพ ลูกค้าบอกว่าพื้นเทคอนกรีตทับหน้าไปแล้วเกิด แตกร้าวเต็มไปหมดเลย แล้วลูกค้าจะให้โรงงานรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด   ทางเราพยามอธิบายว่า แผ่นพื้นสำเร็จรูปของเรานั้น มีขั้นตอนการผลิตที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ทุกกระบวนการผลิต และได้ทำการตรวจคุณภาพก่อนส่งให้ลูกค้าทุกครั้งเสมอ    (ทำไงหละทีนี้เดือดร้อนถึงเจ้าของโรงงานเลย) 
มีคำสั่งด่วนจากเจ้านาย !   ให้หัวหน้าด้านเทคนิค และวิศวกรลงพื้นไปตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวที่หน้างาน
                       

วิธีการตรวจสอบ แผ่นพื้นสำเร็จรูป 


พิจารณาจากสภาพของการแตกร้าวว่าน่าจะเกิดมาจากสาเหตุใด  ในกรณีนี้วิศวกรสันนิฐานว่าน่าจะเกิดจากเหล็กเสริมรับแรงเฉือน (Shear  Key) หรือเหล็กเสริมรับโมเมนต์ลบ บริเวณหัวเสาหรือหัวแผ่นพื้นไม่เพียงพอ    จึงสั่งตรวจสอบโดยการสกัดแผ่นพื้นสำเร็จรูปบริเวณแตกร้าวดู ว่าเสริมเหล็กอย่างไร   ? พระเจ้าช่วย กล้วยทอด กลับไม่พบเหล็ก ตรงหัวเสาเลย ก็คิดว่าช่างคงจะลืมใส่ตรงจุดเดียวหรือเปล่า  สั่งสกัดพื้นบริเวณจุดอื่นๆ อีก จุด ก็ไม่พบเหล็กเสริม ดังกล่าว จึงทำการถามลูกค้าว่า ใครเป็นคนดำเนินการลูกค้าบอกว่า ลูกค้าดำเนินการเองทั้งหมดโดยจ่างช่าง  แถวบ้านมาเป็นลูกมือ ทำงาน    ทางวิศวกรของเราก็อธิบายลูกค้าของเราไปว่า สาเหตุที่แผ่นพื้นมีการแตกร้าวหลังจากเทคอนกรีตทับหน้าไปแล้วนั้นเกิดจาก การไม่เสริมเหล็กรั  บแรงเฉือนบริเวณหัวแผ่นพื้น  ซึ่งไม่ถูกหลักและวิชาการที่ดี  เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นอาคารเกิดการแตกร้าวบริเวณหัวเสา หรือหัวแผ่น  หันกลับไปถามลูกค้าก็อ้ำๆอึ้งๆ  ตอบไม่ถูกว่าทำไม่เสริมเหล็ก ดังกล่าวได้คำตอบ กลับมาว่า “ คิดว่าไม่เป็นไร ยังไงคอนกรีตก็เททับแข็งแรงเหมือนกันตลอดแผ่น   ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมากๆ     
 เรื่อง การก่อสร้างนั้นไม่ใช่เรื่องยาก และก็ไม่ใช่เรื่องง่ายด้วย ถ้าคนที่ทำไม่มีความรู้เพียงพอ   ก่อนทำการก่อสร้างถ้าไม่มีความรู้ ก็ควรจ้างที่ปรึกษา หรือจ้างวิศวกร ควบคุมหรือเป็นที่ปรึกษาให้  จริงๆแล้วการเสริมเหล็กดังกล่าวมีไว้ในแบบก่อสร้างอย่างชัดเจนแล้วว่า เสริมเหล็กขนาดเท่าไหร่ ระยะห่างเท่าไหร่ และ ยาวเท่าไหร่  ถ้าคนทำงานดูแบบเป็นก็จะไม่ค่อยมีปัญหาในกรณีนี้ นอกจากว่า ไม่มีแบบก่อสร้าง หรือผู้รับเหมาลักไก่ 


วิธีแก้ปัญหาแผ่นพื้นสำเร็จรูปแตกร้าว 


วิธีแก้สำหรับกรณีนี้    1. สกัดคอนกรีตที่เทไปแล้วออก อย่าให้แผ่นพื้นสำเร็จรูปแตกหัก แล้วทำการเสริมเหล็กให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ จากนั้นก็เทคอนกรีตทับหน้ากลับไปเหมือนเดิม
                                     2. ถ้าไม่คิดอะไรมากก็ไม่ต้องทำอะไรปล่อยไปอย่างนั้น เพราะถามว่ามันจะพังลงมาใหม  ตอบได้เลยว่าไม่พังแต่ รอยแตกร้าวนั้นอาจจะส่งผลต่อ งาน Finishing  พื้นดังกล่าว


สุดท้ายลูกค้าเลือก ข้อแรก  ทุบทำใหม่   ก็อย่างว่าเพื่อความใจของคนอยู่ ลูกค้าไปจ้างที่ปรึกษาโครงการมาดูงานด้วย นับว่าดีมากมากๆเลย เพราะยังเหลือขั้นตอนการก่อสร้างที่อันตรายอีกหลายขั้นตอก
                    .                           "จะทำงานก่อสร้างต้องปรึกษาวิศวกร "

กลัวผู้รับเหมาก่อสร้าง โกงไหม ????

กลัวผู้รับเหมาโกไหม ?

เมื่อพูดถึงผู้รับเหมาก่อสร้าง หลายๆๆท่านคงจะสายหน้าหนี !!! เพราะเคยเจอหรือมีประสบณ์การที่แย่ๆ เกี่ยวกับผู้รับเหมาก่อสร้างมา แต่อย่างไรก็ตามอีกมุมหนึ่งในวงการผู้รับเหมาก่อสร้างยังมีผู้รับเหมาดีๆๆ อยู่มากถึงแม้ว่าบางครั้งงานที่ก่อสร้างเกิดข้อพิพาททำให้งานเพิ่มและขาดทุนโดยใช่เหตุ แต่เพื่อความรักในงานบริการและต้องการสร้างชื่อเสียง  และมั่นคงในวิชาชีพ ผู้รับเหมาเหล่านั้นก็สามารถ ดำเนินงานจนแล้วเสร็จเป็นที่พอใจแก่เจ้าของบ้านหรือเจ้าของโครงการก็มีเยอะ
และในอีกแง่มุมที่บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างโดนเจ้าของบ้านหรือเจ้าของโครงการโกง หรือโดนเอารัดเอาเปรียบก็มีให้เห็นอยู่มาก

ซึ่งตอนนี้ต่างคนต่างก็กลัวที่จะเสียเปรียบ ซึ่งกันและกัน
วันนี้ ทีมงาน "ก่อสร้างไทย ดอทคอม" จะมาให้ข้อมูลแก่ลูกค้า ที่คิดจะจ้างผู้รับเหมา ว่าทำอย่างไรจะให้เกิดความเสี่ยงที่จะโกงและไม่เอาเปรียบผู้รับเหมาจนเกินไป

1.) หาข้อมูลทั่วไปของผู้รับเหมา เช่น บ้านหรือสำนักงานอยู่ไหนมีแหล่งที่อยู่ชัดเจนใหม มีสถานที่ มีตัวตนจริง ถ้าเป็นไปได้ก็ลองไปคุยหรือทำสัญญาที่บ้านหรือ
สำนักงานของผู้รับเหมา สักครั้งหนึ่ง เหตุผล เพราะว่า อย่างน้อยเราผู้รับเหมาที่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และถ้าเกิดมีปัญหาในภายหลัง เราก็ติดตามแจ้งความดำเนินคดีได้
ข้อแรกถ้าทำได้ก็ สามารถ ตัดสินใจได้ 50 เปอร์เซ็นแล้ว

2.) เบอร์โทรศัพท์ ในการติดต่อ ถ้าเป็นผู้รับเหมามีเบอร์ 02 หรือเบอร์ สำนักงานหรือเบอร์บ้าน มีความน่าชื่อถือ เพราะว่า สถานที่นั้นๆ ได้จดทะเบียนจากองค์การโทรศัพท์มีความชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง

3.) ตัวสัญญา ต้องระบุให้ชัดเจนว่า อะไรรวม อะไรไม่รวม อะไรผู้รับเหมารับผิดชอบ อะไรที่เจ้าของบ้านรับผิดชอบ สัญญาต้องระบุวันเริ่มและแล้วเสร็จลงในสัญญา
ถ้าจะให้ดีต้องมีรายการงาน ( BOQ ) ว่าทำอะไรบ้าง กี่หน่วย หน่วยละเท่าไหร่ เหตุผลเพราะว่า ถ้ามีงานเพิ่ม-ลด แล้วจะต้องไม่มาทะเลาะกันเรื่องของเราต่อหน่วย

3.) อย่าเอาราคาก่อสร้างถูกที่สุด เป็นที่ตั้งในการตัดสินใจจ้าง ผู้รับเหมา เพราะผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาด นั้น ส่วนใหญ่ทำงานไม่จบ เพราะขาดทุน
หรือแบบลดเสปก วัสดุก่อสร้างลง หรือทำงานออกมาไม่ได้คุณภาพ
แต่ทุกอย่างที่กล่าวมานั้นก็ไม่สามารถตัดสินการทำงานของผู้รับเหมาได้ 100 เปอร์เซ็น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเจ้าของบ้านหรือเจ้าของโครงการ


จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอท คอม
วิศวกรออกแบบ :    (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

...............................................................................................................................



เสาเข็มหกเหลี่ยม กับการรับน้ำหนัก 2

           จากบทความที่แล้วที่ผมได้กล่าวไปแล้วว่า การตอกเสาเข็มหกเหลี่ยม นั้นทำอย่างไรก็ได้ไม่่ให้แรงเสียดทานของดินที่กระทำต่อผิวของเสาเข็มโดยรอบหายไป แต่บางครั้งสถานที่ก่อสร้าง หรือหน้างานไม่สะดวกที่จะใช้รถแบ็คโฮกดเข็มหกเหลี่ยมลงไป ยังไงก็ต้องใช้แรงคนในการตอก
การใช้แรงคนตอกนั้นทำได้แต่ถ้าทำไม่ถูกวิธีก็เกิดประโยชน์น้อย ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจอีกครั้งว่า
 การลงเสาเข็มลักษณะแบบนี้จะไม่ได้เป็นการลงเสาเข็มแบบลึกถึงชั้นดินแข็งแบบ
ที่เป็นเสาเข็มรับตัวบ้าน เสาเข็มแบบนี้จะรับน้ำหนักได้ก็โดยอาศัยแรงเสียดทาน หรือ
 พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือแรงเสียดสีของดินที่หุ้มอยู่รอบๆเสาเข็ม ช่วยบีบรัดหรือพยุงเสาเข็ม
ไว้ไม่ให้ทรุดลงไป เพื่อให้เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้ แต่ถ้าหากว่าช่างที่เป็นคนลงเสาเข็ม
ทำการลงเสาเข็มไม่ถูกวิธีก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักของเสาเข็มถูกลดทอนลง
ไป เช่น   วิธีที่ใช้คนขุดแล้วขย่มเสาเข็มลงไป โดยการ

-  ขุดหลุมให้กว้างกว่าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มหกเหลี่ยม และขุดลงไปที่ความลึกจนเกือบสุดความยาวของเสาเข็ม แล้วเอาเสาเข็มหย่อนลงไปจนเกือบมิดหลุมเหลือโผล่ไว้เล็กน้อยประมาณ .50 – 1 เมตร แล้วใช้คนขย่มหรือใช้สามเกลอ  ตอกลงไป






รูปที่ 1 – การลงเสาเข็มหกเหลี่ยม โดยใช้เสาเข็มขนาดความยาว 4 เมตร ช่างขุดหลุมลึก 3 เมตร แล้วหย่อนเสาเข็มลงไป เหลือโผล่เสาขึ้นมา 1 เมตรเพื่อตอกหรือขย่มลงไป ข้อสังเกตก็คือ การขุดเอาเสาเข็มหย่อนลงไปในหลุมที่ขุดให้กว้างกว่าขนาดหน้าตัดเสาเข็ม เมื่อขุดกว้างกว่าก็ทำให้รอบๆเสาเข็มเกิดช่องว่าง

รูปที่ 2 – เมื่อตอกหรือขย่มเสาเข็มลงไปแล้ว เสาเข็มหนึ่งเมตรสุดท้ายก็จมแทรกลงไปในเนื้อดิน เนื้อดินที่หุ้มอยู่รอบๆเสาเข็มในหนึ่งเมตรสุดท้ายนี่แหละที่จะเกิดเป็นเป็นแรงเสียดทานจริงๆช่วยพยุงเสาเข็มไว้เพื่อต้านน้ำหนักที่กดลงมาบนเสาเข็ม แต่เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์แล้วเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้แค่ 25 เปอร์เซ็นต์ของความสามารถในการรับน้ำหนักทั้งหมด เพราะว่า 3 เมตรแรกดินถูกขุดออกไปทำให้เกิดช่องว่างรอบๆเสาเข็ม ไม่มีแรงเสียดทานหรือมีแรงเสียดทานน้อยระหว่างดินกับเสาเข็มในระยะ 3 เมตรแรกนี้ ทำให้เสาเข็มทำงานหรือรับน้ำหนักได้ไม่เต็มที่

แต่ในบางสภาพหน้างานที่ไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ นอกจากการลงเสาเข็มด้วยวิธีนี้ จะทำอย่างไรให้การลงเสาเข็มหกเหลี่ยมด้วยวิธีนี้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด





-           การใช้แรงคนลงเสาเข็มวิธีนี้คงหลีกเลี่ยงการขุดดินไม่ได้ เพราะจำเป็นต้องขุดดินให้เป็นหลุมเพื่อนำร่องให้เสาเข็มลงไปได้ก่อน การจะเอาเสาเข็มตั้งบนดินแล้วเอาคนตอกหรือขึ้นขย่มเลยเสาเข็มก็คงไม่ลง แต่ก็ไม่ควรขุดหลุมนำร่องให้ลึกจนเกินไป ระยะแรกอาจจะขุดลงไปให้ความกว้างของหลุมเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มก่อน เพื่อที่จะเอาเสาเข็มสวมลงไปในหลุมได้(ที่ความลึกประมาณ 1-1.5/4ของเสาเข็ม) แล้วก็ขุดนำร่องต่อลงไปอีกโดยไม่ให้หลุมกว้างกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มจนได้ความลึกประมาณครึ่งหนึ่งของเสาเข็ม แล้วค่อยตอกหรือขย่มลงไปจนสุด และอาจใช้ดินหรือทรายถมกรอกอุดลงไปในระยะ 1-1.5/4 เมตรแรก ที่ขุดนำร่องไปก่อนหน้านี้เพื่อไม่ให้ดินเป็นช่องว่างรอบเสาเข็ม ก็จะช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักของเสาเข็มดีกว่าวิธีแรกที่ผมยกตัวอย่างมาแน่นอน

*สามเกลอ ที่ใต้ตอกเพื่อลงเสาเข็มหกเหลี่ยมก็คืออุปกรณ์ที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้สำรับตอกเสาเข็มขนาดเล็กที่สามารถใช้คนยกตอกได้ จะมีลักษณะเป็นทุ่นเหล็กมีน้ำหนักพอสมควรและเชื่อมเหล็กทำเป็นหูออกมาให้สำหรับคนยก โดยจะทำหูสำหรับยกออกมาด้านข้าง 3 หู เวลาจะใช้งานตอกเสาเข็มก็จะใช้คนยก 3 คน และการยกตอกจะต้องยกขึ้น-ลงให้พร้อมเพรียงกันทั้ง3 คน จึงเป็นที่มาของคำว่า “ สามเกลอ “




จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอทคอม

วิศวกรออกแบบ :(Civil Design Engineer)

สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม

ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 

ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย




การเลือกใช้ แผ่นพื้นสำเร็จรูป

การเลือกใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป


      การเลือกใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป

                                       มีลูกค้าโทรมาสอบถามราคาเราและปรึกษาเราว่าจะใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปแต่ไม่รู้จะใช้แบบไหน  หนาเท่าไหร่ ลวดกี่เส้น  ทางเราก็ย้อนถามลูกค้าไปว่า จะเอาไปทำอะไร เช่น ทำบ้าน ทำอาคารพาณิชย์ คอนโด หรือโรงงานเป็นต้น โดยปกติรูปแบบของแผ่นพื้น 90 เปอร์เซ็นจะถูกกำหนดมาในแบบแล้ว ว่าใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบใด หนาเท่าไหร่ รับน้ำหนักปลอดภัยได้ไม่น้อยว่าเท่าไหร่  นอกเหนือจากทางเจ้าของบ้านต่อเติมหรือทำงานโดยไม่มีแบบแปลน  วันนี้จึงอยากพาทุกท่านไปรู้จักกับชนิดของแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบต่างๆว่าแต่ละชนิดเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร


1.)    แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปท้องเรียบ

                แผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบเป็นแผ่นคอนกรีตอัดแรงชนิดท้องเรียบ  รูปหน้าตัดเหมือนแผ่นกระดาน กว้าง0.35m. หนา 0.05 m.  ความยาวไม่เกิน 4.50 m. มีตั้งแต่ใช้ลวดแรงดึงสูงขนาด 4mm. อัดแรงเข้าไปในคอนกรีต มีตั้งแต่ 4 เส้นจนถึง 8เส้น แล้วแต่น้ำหนักใช้งาน ข้อกำหนดของการใช้งาน  วางเรียงชิดกันตลอดด้านท้องเรียบไม่ต้องฉาบปูนฝ้าเพดาน ทาสีทับได้เลยเมื่อเทคอนกรีตทับหน้า (Structural  Topping)แล้วจะทำงานเป็นเนื้อเดี่ยว กันกับแผ่นพื้นสำเร็จรูป
                การใช้ประโยชน์  เหมาะสำหรับงานอาคารโดยทั่วไป ทุกขนาด  เพราะการใช้พื้นสำเร็จรูปทำให้การก่อสร้างรวดเร็วและประหยัดกว่าพื้นระบบหล่อในที่  พื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ ทีริช ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับช่วงพาด ตั้งแต่สั้น 1-5 เมตร

2)     แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ลอนโค้ง

                  แผ่นพื้นสำเร็จรูปลอนโค้ง ถูกออกแบบให้มีการรับน้ำหนักเหมือนคาน ซึ่งรับน้ำหนักได้มากกว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ ทั่วไป ทำให้การทำงานไม่ต้องมีค้ำยันในขณะติดตั้ง ทำให้เกิดความปลอดภัย ประหยัดทั้งเงินและเวลาในการก่อสร้าง
                การใช้ประโยชน์ เหมากับงานประเภทที่รับน้ำหนักจรมาก (มากว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ)และพื้นที่การก่อสร้างที่ไม่สามารถค้ำยันท้องพื้นเวลาเทคอนกรีตทับหน้าได้


3เแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดมีรู    (Hollow Core Slab)


                       แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ชนิดมีรูกลวง เป็นแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรง ที่มีรูกลวง ซึ่งเหมาะสำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่ที่รับน้ำหนักเยอะๆๆ ความยาวมากๆ  และความกว้างและความหนา ของแผ่นพื้นก็แล้วแต่โรงงานจะผลิตตามสเปกของแบบก่อสร้างนั้น     แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปแบบมีรูนั้นถูกผลิตด้วยด้วยระบบ Wet Concrete  ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เชื่อถือได้ ในความหนาแน่นสม่ำเสมอ ทุกส่วนของเนื้อคอนกรีตและสามารถทนแรงสั่นสะเทือนได้ดี   คุณสมบัติเด่นในด้านการป้องกันเสียง และอุณหภูมิ   แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดกรวง ทำด้วยคอนกรีตอัดแรงที่มีผิวแข็งแกร่ง และมีรูกลวงขนาดใหญ่ดังนั้นช่องอากาศภายใน จึงช่วยลดการผ่านของเสียง  หรือการแพร่ หรือกระจาย ของอุณหภูมิไม่ว่าจะเป็นอุณภูมิเย็นหรือ ร้อนก็ตาม   และประโยชน์ของรูกลวงสามมารถใช้ประโยช์ในการเดินท่อสายไฟหรือใช้เป็นร่องระบายโอกาศ    


เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง กับมาตรฐาน (มอก.)

เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง กับมาตรฐาน มอก.


                    มีลูกค้าหลายท่านเลยทีเดียว ที่โทรมาถามเราว่า ต้องการเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง มี มอก.
เพราะเป็นงานราชการบ้าง งานเสปกสูงบ้าง  ทางผุ้ควบคุมงานต้องการใบ มอก.บ้าง






มอก. ของเสาเข็มหกเหลี่ยม  ไม่ได้รองรับเข็มประเภทนี้


ทางเราขอเรียนว่า เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงนั้น เป็นเข็มขนาดเล็กซึ่ง ( มอก.) หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรมไม่ ได้รองรับเสาเข็มประเภทนี้เพราะเป็นเข็มเล็ก  มาตรฐานอุตสาหกรรมจะรองรับ เข็มคอนกรีตอัดแรงตั้งแต่ เข็มตัวไอ ขนาด 18x18 ซม. ขึ้นไป
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงไม่มี (มอก) แล้วจะไม่สามารถใช้ในงานราชการหรืองานที่มี ผุ้ควบคุมงาน หรืองานเสปกสูงๆ ได้ครับ มันคนละประเด็นกันเลยครับ    แต่เราก็ต้องนำไปใช้อย่างรู้หลักการ โดยต้องใช้หลักการพื้นฐานวิศวกรรมมาประกอบกับรายการคำนวนน้ำหนัก เพื่อขออนุมัติใช้งานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


ชนิดของเสาเข็มหกเหลี่ยมหลวง 



เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงในท้องตลาดบ้านเราจะมีอยู่  2 แบบ

1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหกเหลี่ยมกลวง  

             ซึ่งกระบวนการผลิตเหมือนกับชื่อ ว่าใช้คอนกรีตอัดแรง  ลักษณะการผลิตนั้นก็เหมือนกับการผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงทั่วๆไป แตกต่างกันที่รูปทรงของแบบหล่อเท่านั้นเอง ครับ วิธีการ นี้จะมีขั้นตอนหลายขั้นตอน จึงทำให้ ราคาของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหกเหลี่ยมกลวง มีราคาสูงว่า เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบธรรมดาทั่วไป

2. เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง

    โดยทั่วไป ซึ่งกระบวนการผลิตจะใช้คอนกรีตกำลังสูงเหมือนกันแต่จะไม่ดึงลวดหรืออัดแรงเข้าไปในคอนกรีต  จะใช้การประกอบเหล็กแกนและปลอกเข้าด้วยกันธรรมดา




การรับน้ำหนัก ของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหกเหลี่ยมกลวง

การรับน้ำหนัก ของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหกเหลี่ยมกลวง นั้น ถ้าเปรียบเทียบกับการรับน้ำหนักในแนวดิ่งนั้น รับได้เท่าๆกัน แต่การรับดัดในแนวด้านข้างเสาเข็มที่เป็นประเภทคอนกรีตอัดแรงจะแรงดัดได้ดีว่า. เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ   พิจารณารูปประกอบด้านบน

บ้านต่ำกว่าถนน ทำอย่างไรดี ???

บ้านต่ำกว่าถนน

มีลูกค้าของเรามาซื้อ แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป  เพื่อจะนำไปวางบนบ้านเดิม  ทางราชการทำถนนยกระดับถนนขึ้นมาทำให้บ้านต่ำลงไปวกว่า
ระดับถนน ก็กะว่าจะซื้อแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ไปวางบนพื้นเดิม  ???????????



ทางเราก็ถือโอกาสเรียนลูกค้าอย่างนี้ครับ   การปรับระดับพื้นบ้านอยู่ดีๆ จะเอาทรายเข้าไปถมเลยไม่ได้นะครับ หรือจะเอาแผ่นพื้นสำเร็จรูปไปวาง
วางก็ไม่ได้เหมือนกันนะครับ   จะต้องดูโครงสร้างเดิม ว่าเป็น โครงสร้างระบบอะไร Slab on grounp หรือ Slab on beam และดูสภาพจริงหน้างาน
หลายๆอย่าง พอจะมีแนวทางเคร่าๆ ดังนี้

1. กรณีพื้นเดิมเป็น Slab on bem การปรับระดับโดยถมทรายเพิ่มและหล่อพื้นใหม่จะทำให้เกิด น้ำหนักส่วนเกินเข้าสู่โครงสร้าง
ซึ่งโครงสร้างเดิมไม่ได้ออกแบบมารองรับน้ำหนักในส่วนนี้ จึงไม่ควรทำ ที่ถูก ต้องตัดพื้นเดิมออกจากคาน ทุบทิ้งเอาออกแล้วจึงหล่อพื้นใหม่
1.1)  พื้นใหม่วางบนคานเดิม โดยหล่อผนังรับน้ำหนักจากระดับคานเดิม วิธีนี้จะมีข้อดีคือจะไม่มีปัญหาเรื่อง
การทรุดตัวที่แตกต่าง (Differential Settement) ส่วนการเลือกใช้เป็นพื้นหล่อในที่หรือแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้น ต้องดูตามพื้นเดิมครับ เพราะพื้นทั้งสองชนิด
มีการถ่ายน้ำหนักไม่เหมือนกัน
1.2) หล่อพื้นใหม่เป็น Slab on group โดยการถมทรายถึงระดับที่ต้องการแล้วเทคอนกรีตพื้น วิธีนี้ประหยัดและง่าย ยกเว้นดินมีปัญหา
ดินไหลหรือการบดอัดดินได้ไม่ดี
1.3) หล่อพื้นใหม่บนฐานรากใหม่ หรือใช้เข็มสั้นตอกปูพรหม และแต่วิศวกรจะคำควณระยะห่างของเสาเข็ม

การทำพื้นใหม่ ตมที่กล่าวมา (ยกเว้นข้อ 1.1) ในบางกรณี คือถ้าเป็นบ้านในกรุงเทพและปริมณฑลและโครงสร้างเดิมใช้เข็มยาว พื้นใหม่
จะมีการทรุดตัวที่แตกต่างจากโครงสร้างเดิม  จึงต้องทำการแยกพื้นที่เทใหม่กับอาคารเดิมด้วยแผ่นโฟม ภายหลังจากก่อสร้างเสร็จรอยต่อนี้
ให้ยาด้วยซิลิโคนกันน้ำ และคงจะต้องคอยซ่อมรอยต่อนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นข้อเสียอย่างหนึ่งของการใช้พื้นวางบนดิน


จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอทคอม วิศวกรออกแบบ :(Civil Design Engineer) สงวนลิขสิทธิ์บทความ ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

เสาเข็มตัวไอ กำแพงกันดิน

เสาเข็มทำกำแพงกันดิน 


                มีลูกค้าโทรมาถามบ่อยมากครับ ว่าจะทำกำแพงกันดินสูงเท่านั้น  เท่านี้ อีกด้านเป้นคลอง
และใช้เสาเข็มตอกยาวเท่าไหร่รวมถึงใช้แผ่นพื้นด้วยว่าจะหล่อแผ่นยาวเท่าไหร่  ?????
        ขอเรียนลูกค้าอย่างนี้นะครับ ว่างานกันดินหรืองานเขื่อนนั้น ไม่ว่าจะเป็นความยาวเข็ม
ขนาดของเข็ม หรือแม้แต่ ระยะที่ตอกเข็ม  นั้นต้องได้การคำนวนมาจากวิศวกรผู้ออกแบบ
แต่ถ้าลูกค้าอยากจะสร้างแล้วจะซื้อเสาเข็มและแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปจากโรงงานเรา
เราออกแบบและให้คำปรึกษาฟรี

ขอขอบคุณคุณเพชร ที่ใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงจากโรงงานเรา ใช้เสาเข็มคอนกรีต
อัดแรงรูปตัวไอขนาด 18x18x8 เมตร และเสริม Dowel 6 DB20 ยาว 4 เมตร


เสาเข็มตัวไอ
เสาเข็มตัวไอ

เสาเข็มตัวไอ
เสาเข็มตัวไอ

http://www.trichgroup.com/p/blog-page_3.html


เสาเข็มตัวไอ
เสาเข็มตัวไอ

เสาเข็มตัวไอ
ติดต่อสั่งซื้อสินค้า บริการของเราได้ 02 988 5559, 0890795722
หรือ idline: @TRICH  (มี@นำหน้า)
Email: Info@trichgroup.com
"ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"

จัดส่ง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา รามอินทรา ลำลูกกา ปทุมธานี รังสิต หลองหลวง
 วังน้อย อยุธยา บางประอิน กรุงเทพ สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระราม2
พระราม3 พระราม 4 พระราม 5 นนทบุรี บางใหญ่ บางพลี

ขอบคุณที่มา : บริษัท ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์)
จัดทำบทความโดย: ทีริช กรุ๊ป ดอท คอม
วิศวกรออกแบบ :    (Civil Design Engineer)  สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่
 ก่อนได้รับอนุยาตจาก ที.ริช กรุ๊ป ดอท คอม ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์
 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์
และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

...................................................................................................................................


เสาเข็มตัวไอ พร้อมตอก

ขอบพระคุณ คุณปกรณ์ โครงการอาคารพักอาศัยลำลูกกาคลอง 7 ที่ให้โอกาสเราได้รับด้วยดีเสนอมาครับทางเราหวังเป็นอย่างดีว่าจะได้รับใช้ลูกค้าต่อๆไปครับ
ติดต่อสั่งซื้อสินค้า
บริการของเราได้ 02 988 5559, 089 0795722
หรือ IDline:@TRICH
EMAIL: Info@trichgroup.com
"ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"

เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ และผลงานขายของเราได้ที่

ผลิตภัณฑ์ แผ่นพื้นสำเร็จรูปและเสาเข็มอัดแรง
http://www.trichgroup.com/

ผลิตภัณฑ์ อิฐมวลเบา
http://xn--12cf9azas5bpor1d4cbbs0g2e.blogspot.com/

ผลิตภัณฑ์ ปูนซีเมนต์
http://xn--12cfu4bgobn0dwa9nb6a5cl7hsj.blogspot.com/

"ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"
บริษัท ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด จากประสบการณ์ การทำงานก่อสร้างให้ลูกค้ามาเป็นเวลา 10 ปีเราเข้าใจดี อะไรคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ โครงการก่อสร้างของท่านประสบณ์ความสำเร็จ ท่านคงปฎิเสธไม่ได้ว่า"ต้นทุนที่ต่ำเท่าไหร่ ผลกำไรก็มากเท่านั้น"
อีกอย่างบริษัทของเรามีโรงงานหล่อผลิตภัณฑ์ คอนกรีต ซึ่งทำให้เรามีสินค้าที่สามารถรองรับบความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา รวมทั้งจากประสบณ์การของผู้บริหารที่เคยเป็นพนักงานของผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่เราจึงกล้าพูดได้ว่า " เราเป็นมืออาชีพเรื่องวัสดุก่อสร้าง " และยึดถือความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลักเราเป็นผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย โดยตรงจากโรงงาน ทุกกลุ่ม ทุกโรงงาน ที่เป็นวัสดุหลักของงานก่อสร้าง ได้แก่ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ , โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ , โรงงานผลิตอิฐมวลเบา ,อิฐบล็อก ,อิฐมอญ, โรงงานผลิตเหล็กเส้นก่อสร้าง และเหล็กรูปพรรณ ฯลฯ
"ราคาต่ำจริงๆ" เรามีนนโยบายขายสินค้าส่งอย่างเดียว ไม่ขายหน้าร้าน เพราะฉะนั้นสินค้าของเราจึงมีราคาต่ำทุกตัว ออกจากโรงงานส่งถึงหน้างานเลย จะไม่มีค่าดอกเบี้ยที่แฝงอยู่ในราคาสินค้าเพราะนำสินค้ามากองเก็บไว้เหมือนกับร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป ลูกค้าของเราคือลูกค้าทุกกลุ่มที่ใช้งานปริมาณเยอะๆๆมีสินค้าเต็มเที่ยว 6 ล้อ 10ล้อ หรือเทเลอร์ ในรคาที่พิเศษสุดๆๆ

ติดต่อสั่งซื้อสินค้า บริการของเราได้ 02 988 5559, 0890795722
หรือ idline: @TRICH
Email: Info@trichgroup.com
"ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"

 เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง

 เสาเข็มตัวไอ

 เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง

 เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง


ิดต่อสั่งซื้อสินค้า บริการของเราได้ 02 988 5559, 0890795722
หรือ idline: @TRICH  (มี@นำหน้า)
Email: Info@trichgroup.com
"ความพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"

จัดส่ง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา รามอินทรา ลำลูกกา ปทุมธานี รังสิต หลองหลวง
 วังน้อย อยุธยา บางประอิน กรุงเทพ สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระราม2
พระราม3 พระราม 4 พระราม 5 นนทบุรี บางใหญ่ บางพลี


ขอบคุณที่มา : บริษัท ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์)
จัดทำบทความโดย: ทีริช กรุ๊ป ดอท คอม
วิศวกรออกแบบ :    (Civil Design Engineer)  สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่
 ก่อนได้รับอนุยาตจาก ทีริช กรุ๊ป ดอท คอม ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์
 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์
และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
........................................................................................................................................................


แผ่นพื้นสำเร็จรูป ความหนา

แผ่นพื้นสำเร็จรูป  ความหนา


             แผ่นพื้นสำเร็จรูปโดยปกติมีหลายแบบ แผ่นพื้นสำเร็จรูป ของโรงงานเราเป็นแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบตันความหนาอยู่ที่ 5 ซม. แผ่นพื้นสำเร็จรูปของโรงงานเราจะมีความกว้าง 35 ซม. และความหนา 5 ซม.แต่จะแตกต่างกันที่ความยาวของแผ่นพื้นสำเร็จรูป  ซึ่งเสกลในการผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้นเราจะผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่มีความยาวลงท้ายด้วย 0และ 5  เช่น แผ่นพื้นสำเร็จรูปยาว 2.05  หรือแผ่นพื้นสำเร็จรูปยาว 3.55 เมตร

แผ่นพื้นสำเร็จรูป

แผ่นพื้นสำเร็จรูป

แผ่นพื้นสำเร็จรูป


การเลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป


                การเลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปว่าจะใช้แผ่นพืนสำเร็จรุปที่มีความยาวเท่าไหร่ ควรปรึกษาวิศวกร หรือผู้ออกแบบโครงสร้าง  เพราะปลายทั้งสองข้างของแผ่นพื้นสำเร็จรูป นั้นจะต้องวางบนคานหรือฐานรางรับอย่างน้อย 5 ซม.   มีลูกค้าบางท่านอยากให้เราผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่มีความหนามากกว่า 5 ซม. เราต้องเรียนลูกค้าว่าโรงงานเรา  มีแบบหล่อคอนกรีตที่มีความหนาแค่ 5 ซม. ถ้าลูกค้าต้องการความหนามากกว่านั้น แนะนำลูกค้าว่าต้องเปลี่ยน  เป็นแผ่นพื้นสำเร็จรปแบบอื่นเช่น แผ่นพื้นสำเร็จรูป HOllow core  เป็นต้น