แผ่นพื้นสำเร็จรูป,

กลัวผู้รับเหมาก่อสร้าง โกงไหม ????

กลัวผู้รับเหมาโกไหม ?

เมื่อพูดถึงผู้รับเหมาก่อสร้าง หลายๆๆท่านคงจะสายหน้าหนี !!! เพราะเคยเจอหรือมีประสบณ์การที่แย่ๆ เกี่ยวกับผู้รับเหมาก่อสร้างมา แต่อย่างไรก็ตามอีกมุมหนึ่งในวงการผู้รับเหมาก่อสร้างยังมีผู้รับเหมาดีๆๆ อยู่มากถึงแม้ว่าบางครั้งงานที่ก่อสร้างเกิดข้อพิพาททำให้งานเพิ่มและขาดทุนโดยใช่เหตุ แต่เพื่อความรักในงานบริการและต้องการสร้างชื่อเสียง  และมั่นคงในวิชาชีพ ผู้รับเหมาเหล่านั้นก็สามารถ ดำเนินงานจนแล้วเสร็จเป็นที่พอใจแก่เจ้าของบ้านหรือเจ้าของโครงการก็มีเยอะ
และในอีกแง่มุมที่บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างโดนเจ้าของบ้านหรือเจ้าของโครงการโกง หรือโดนเอารัดเอาเปรียบก็มีให้เห็นอยู่มาก

ซึ่งตอนนี้ต่างคนต่างก็กลัวที่จะเสียเปรียบ ซึ่งกันและกัน
วันนี้ ทีมงาน "ก่อสร้างไทย ดอทคอม" จะมาให้ข้อมูลแก่ลูกค้า ที่คิดจะจ้างผู้รับเหมา ว่าทำอย่างไรจะให้เกิดความเสี่ยงที่จะโกงและไม่เอาเปรียบผู้รับเหมาจนเกินไป

1.) หาข้อมูลทั่วไปของผู้รับเหมา เช่น บ้านหรือสำนักงานอยู่ไหนมีแหล่งที่อยู่ชัดเจนใหม มีสถานที่ มีตัวตนจริง ถ้าเป็นไปได้ก็ลองไปคุยหรือทำสัญญาที่บ้านหรือ
สำนักงานของผู้รับเหมา สักครั้งหนึ่ง เหตุผล เพราะว่า อย่างน้อยเราผู้รับเหมาที่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และถ้าเกิดมีปัญหาในภายหลัง เราก็ติดตามแจ้งความดำเนินคดีได้
ข้อแรกถ้าทำได้ก็ สามารถ ตัดสินใจได้ 50 เปอร์เซ็นแล้ว

2.) เบอร์โทรศัพท์ ในการติดต่อ ถ้าเป็นผู้รับเหมามีเบอร์ 02 หรือเบอร์ สำนักงานหรือเบอร์บ้าน มีความน่าชื่อถือ เพราะว่า สถานที่นั้นๆ ได้จดทะเบียนจากองค์การโทรศัพท์มีความชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง

3.) ตัวสัญญา ต้องระบุให้ชัดเจนว่า อะไรรวม อะไรไม่รวม อะไรผู้รับเหมารับผิดชอบ อะไรที่เจ้าของบ้านรับผิดชอบ สัญญาต้องระบุวันเริ่มและแล้วเสร็จลงในสัญญา
ถ้าจะให้ดีต้องมีรายการงาน ( BOQ ) ว่าทำอะไรบ้าง กี่หน่วย หน่วยละเท่าไหร่ เหตุผลเพราะว่า ถ้ามีงานเพิ่ม-ลด แล้วจะต้องไม่มาทะเลาะกันเรื่องของเราต่อหน่วย

3.) อย่าเอาราคาก่อสร้างถูกที่สุด เป็นที่ตั้งในการตัดสินใจจ้าง ผู้รับเหมา เพราะผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาด นั้น ส่วนใหญ่ทำงานไม่จบ เพราะขาดทุน
หรือแบบลดเสปก วัสดุก่อสร้างลง หรือทำงานออกมาไม่ได้คุณภาพ
แต่ทุกอย่างที่กล่าวมานั้นก็ไม่สามารถตัดสินการทำงานของผู้รับเหมาได้ 100 เปอร์เซ็น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเจ้าของบ้านหรือเจ้าของโครงการ


จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอท คอม
วิศวกรออกแบบ :    (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

...............................................................................................................................