การตรวจสอบงานเสาเข็มตอก
การตรวจสอบการตอกเข็มมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ผู้ควบคุมงานหรือวิศวกร
ควรศึกษาแบบแปลนก่อสร้างให้เข้าใจ เพื่อวางแผนการตอกเสเข็มให้สามารถตอกเข็มได้อย่างต่อเนื่องและย้ายปั้นจั้นให้น้อนที่สุด2.
ศึกษารายการคำนวนเสาเข็ม Blow cout น้ำหนักของลูกตุ้ม
ขนาดของเสาเข็ม ความยาวระยะยกลูกตุ้ม ให้เข้าใจเพื่อการตรวจสอบก่อนการตอกเข็ม
3. เตรียมสาธารณูปโภคต่างๆ
เช่นไฟฟ้า ,น้ำประปา
เส้นทางลำเลียงเสาเข็มเป็นต้น4. ตรวจสอบความแข็งแรงและตำแหน่งของปั้นจั่นให้ตรงกับตำแหน่งของเสาเข็มที่จะตอก
5. ตรวจสอบอายุของเสาเข็ม
รอยแตกร้าวต่างๆของเสาเข็ม
6. ตรวจสอบความได้ดิ่งของเสาเข็มทั้งสองด้านเมื่อเสาเข็มได้ดิ่งแล้วให้ทำเครื่องหมายในแนวราบเพื่อไว้ตรวจสอบการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มระหว่างตอก
7.
ระหว่างการตอกควรตรวจสอบดิ่งของเสาเข็มเป็นระยะๆ
และระหว่างตอกควรสังเกตเชือกสลิงตอนที่ลูกตุ้มตกว่าหย่อนหรือป่าวเพื่อตรวจสอบระยะยกลูกตุ้ม
8.
ควรหยุดตอกเมื่อปลายเสาเข็มส่วนแรกอยู่จากระดับดินประมาณ 30 ซม.
เพื่อเตรียมเชื่อมต่อความยาว
9. ตรวจสอบรอยเชื่อมให้เคาะตะกรันเชื่อมออกให้หมด
หากพบว่ารอยเชื่อมยังไม่สมบูรณ์ให้ทำการเชื่อมซ้ำให้รอยเชื่อมเสมอกับผิวของเสาเข็ม
ก่อนตอกต้นที่2 ให้ยกลูกตุ้มกระแทก 2-3
ครั้งแล้วตรวจสอบความสมบูรณ์ของรอยเชื่อมอีกครั้งหากไม่มีข้อบกพร่องให้ตอกต่อไปจนถึงระยะนับ
Blow
Count
10. เมื่อตอกเสาเข็มจนถึงระยะนับ Blow
Count ให้เริ่มนับจำนวนครั้งที่ใช้ในการตอกเสาเข็มที่จมไปทุกๆช่วง
30 ซม.ตามที่ผู้ออกแบบกำหนด
11. กรณีตอกเสาเข็มจนเสมอระดับดินแล้วแต่ยังไม่ผ่านการนับ
Blow
Count ให้ถอดหมวกครอบเข็มออกแล้วติดตั้งหัวส่งเสาเข็มเพื่อตอกเข็มต่อให้ Blow
Count ตามผู้ออกแบบกำหนด
12. ตรวจสอบ Last
10 blow เป็นการเทียบอัตราการทรุดตัวจากการตอกจำนวน10ครั้งจะกระทำซ้ำกันจำนวน
3 ครั้งตามขั้นตอนดังนี้
12.1 ในกรณีที่เสาเข็มโผล่เหนือดินการวัดระยะ
10 ครั้งสุดท้ายได้โดยตรงจากทำเส้นไว้ที่เสาเข็ม
แต่ถ้าใช้หัวส่งเสาเข็มต้องใช้อุปกรณ์ช่วยวัดการทรุดตัวเช่น ท่อPVC
ค้ำยันระหว่างปั้นจั่นกับพื้นดินแล้วขีดเส้นอ้างอิงก่อตอกเข็ม
12.2
ใช้ปั้นจั่นตอก 10 ครั้งแล้ววัดระยะการทรุดตัว ทำซ้ำกัน 3 รอบ
การทรุดตัวที่วัดได้จะต้องไม่เกินค่าที่ผู้ออกแบบกำหนด
ถือว่าเสร็จสิ้นการตอกเสาเข็มต้นนั้น
............................................................................................................
จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอทคอม
วิศวกรออกแบบ :(Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย