แผ่นพื้นสำเร็จรูป,

เสาเข็มเจาะเปียก


ขั้นตอนการทำเข็มเจาะ (Bore Piles) สำหรับอาคารขนาดใหญ่
 1. เจาะเปียก (Wet Process)


ขั้นตอนที่ 1 ให้ใส่ปลอกเหล็ก WET PROCESS
1.1 ให้ใส่ปลอกเหล็ก ( STELL CASING ) เพื่อป้องกันดินส่วนบนพัง ยาวไม่น้อยกว่า 14.00 ม. และปลายปลอกเหล็กจะต้องลึกเลยชั้น SOFT CLAY ในช่วงความยาวภายในปลอกเหล็กนี้จะขุดโดยไม่เติม DRILLING LIQUID ลงในหลุมก็ได้ เนื่องจากมีปลอกเหล็กป้องกันดินพังติดตั้งอยู่แล้ว เมื่อขุดเลยระดับใต้ปลอกถ้ามีน้ำไหลเข้ามาในปลอกจะต้องใส่ LIQUID โดยใช้ BENTONITE เพื่อทำหน้าที่ต้านแรงดันภายในหลุมที่จะทำให้เกิดการพังทลายได้
1.2 เมื่อทำการเจาะจนถึงระดับที่ต้องการแล้ว ก่อนการติดตั้งเหล็กเสริมจะต้องตรวจสอบความดิ่งและการพังทลายของหลุมเจาะด้วยวิธี หรือเครื่องมือที่เหมาะสมหากทราบว่ามีการพังทลายเกิดขึ้นจะต้องชักโครงเหล็กขึ้นมาทำการแก้ไขให้เรียบร้อย จึงลงโครงเหล็กเสริมใหม่
1.3 เมื่อวางโครงเหล็กเสริม และตรวจสอบกับรูเจาะเรียบร้อยแล้ว จึงทำการเทคอนกรีตได้ BENTONITE SLURRY โดยใช้ท่อ TREMIE PIPE ที่มีขนาดพอเหมาะใส่ลงไปในหลุมเข็มเจาะจนเกือบถึงก้นหลุม โดยให้ปลายท่อห่างกับหลุมเพียงเล็กน้อย โดยมี PLUG อยู่ในท่อ ลอยอยู่เหนือ SLURRY PLUG อาจใช้ลูกบอลยาง โฟม หรือ สารชนิดอื่น ๆ ที่วิศวกรผู้ออกแบบเห็นชอบแล้ว TREMIE PIPE จะต้องฝังอยู่ในคอนกรีตประมาณ 2.00 ม. ซึ่งอาจน้อยกว่าได้ตามสภาพความเหมาะสมแต่ในขณะดัดต่อท่อ TREMIE ท่อต้องจมอยู่ในเนื้อคอนกรีตประมาณ 3-5 ม. ขณะเทคอนกรีตต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณคอนกรีตที่เท เทียบกับปริมาณตามแบบไว้ทุกระยะการเทในขณะเทคอนกรีตท่อ TREMIE PIPE จะหลุดจากคอนกรีตที่เทแล้วในหลุมเจาะไม่ได้
1.4 ให้หล่อคอนกรีตหัวเสาเข็ม สูงกว่าระดับที่ต้องการประมาณ1.20-1.50
1.5 เมื่อเทคอนกรีตจนได้ระดับแล้ว จึงทำการถอนปลอกขึ้นได้
1.6 หากวิธีการเจาะหรือตรวจสอบใด ๆ ที่มิได้กล่าวไว้แล้วก็ตาม หากระหว่างการทำงาน ผู้รับจ้างเห็นว่าควรจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมใด ๆ เพื่อให้งานที่คุณภาพดีขึ้น ผู้รับจ้างจะต้องเสนอต่อคณะกรรมการตรวจการจ้าง หรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน เพื่อให้ความเห็นชอบ
1.7 BENTONITE SLURRY
- BENTONITE SLURRY ที่ใช้ต้องมีคุณสมบัติ
ก. ค่า PH ไม่ต่ำกว่า 7 ทดสอบโดยวิธี PH indicator paper atripa
ข. DENSITY อยู่ระหว่าง 1.05 - 1.2 ตัน/ลบ.ม. และปริมาณที่ใช้ผสม 2-6%
ค. VISCOSITY อยู่ระหว่าง 3090 SEC> ( MARCH`CONE TEST )
ง. SAND CONTENT ไม่เกิน 6% ทดสอบโดย NO. 200 Seive H.S.MESH ค่าเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจการจ้างในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างหรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน เห็นว่า BENTONITE นั้นสกปรกหรือมีคุณสมบัติต่าง ๆ ไม่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไปแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบการจ้างหรือวิศวกรผู้ควบคุมงานมีสิทธิ์ที่จะห้ามใช้ BENTONITE SLURRY นั้นได้
จ. จะต้องทดสอบคุณสมบัติเหล่านี้ จาก BENTONITE SLURRY ในหลุมเจาะจริงด้วย

 ขั้นตอนที่ 2 ข้อกำหนดของคอนกรีต

2.1 คอนกรีตที่ใช้ทำเสาเข็มเจาะ จะต้องมีกำลังอัดประลัยของคอนกรีตมาตรฐาน รูปทรงลูกบาศ์ก ( CUBE ) 0.15x0.15x0.15 เมื่อมีอายุ 28 วัน ไม่น้อยกว่า280 KSC. โดยมีค่ายุบตัวอยู่ระหว่าง 15-20 ซม. ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ดแลนด์ประเภทที่ 1
2.2 คอนกรีตที่ใช้งานเสาเข็มเจาะ ต้องมีเวลาการก่อตัวไม่น้อยกว่า 5 ซม. และต้องเหมาะสมกับระยะเวลาการเทคอนกรีต
2.3 ผู้รับจ้างงานเสาเข็มเจาะ ต้องเสนอ MIX DESIGN ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณาอนุมัติ การเสนอ จะต้องส่งผลการทดสอบกำลังอัดมาด้วย อย่างไรก็ตามความรับผิดชอบในเรื่องคุณภาพ คุณสมบัติของคอนกรีตที่เทยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง
2.4 การเก็บตัวอย่างแท่งคอนกรีตของเสาเข็มเจาะ 1 ตัน เก็บตัวอย่างไม่น้อยกว่า 3 ชุด ชุดละ 3 แท่ง และค่าใช้จ่ายในการเก็บตัวอย่าง การทดสอบ ผู้รับจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด


ขั้นตอนที่ 3 ข้อกำหนดของการเสริมเหล็กในเสาเข็มเจาะ

เหล็กยืน ให้เสริมขนาดตั้งแต่ 12 มม. ขึ้นไปให้ใช้เหล็กข้ออ้อย SD-40 ตามมาตรฐาน มอก. และมีปริมาณไม่น้อยกว่า 0.5% ขอยหน้าตัดเสาเข็ม
เหล็กปลอกให้เสริมขนาด 9 มม. ระยะ 0.30 ม.ให้ใช้เหล็กกลม SR-24 ตามมาตรฐาน มอก.

 ขั้นตอนที่ 4 การทดสอบการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มเจาะ โดยการทำ จะต้องทดสอบตามมาตรฐาน



ขั้นตอนที่ 5 การบันทึกรายงานการทำเสาเข็มเจาะ
รายละเอียดดังนี้
5.1 วัน เดือน ปี าที่ทำการเจาะและเทคอนกรีตของเสาเข็ม
5.2 หมายเลขกำหนดตำแหน่งเสาเข็มเจาะ
5.3 ระดับดินเดินก่อนทำการเจาะ
5.4 ระดับปลายเสาเข็ม
5.5 ระดับหัวเสาเข็ม
5.6 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความยาวเสาเข็มเจาะ
5.7 รายละเอียดเหล็กเสริมเสาเข็มเจาะ
5.8 ความคลาดเคลื่อนของศูนย์และระยะเบี่ยงเบนของเสาเข็มในแนวดิ่ง
5.9 รายละเอียดของชั้นดิน จะต้องเก็บตัวอย่างของชั้นดิน ณ จุดที่ทำเสาเข็มส่งให้วิศวกรผู้ออกแบบ และจะต้องจัดทำรายการของชั้นดินที่ผิดแปลกไปส่งให้วิศวกรผู้ออกแบบทราบทันที
5.10 รายละเอียด อุปสรรคที่เกิดขึ้นหรือเหตุผิดปกติต่างๆจะต้องแก้ไขให้สำเร็จถูกต้องตามหลักวิชาการ

ที่มา : http://www.pramuanmongkol.com



จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอทคอม
วิศวกรออกแบบ :(Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย